สะกดจิต เมืองไทยไม่ธรรมดา





^

^

^

โอ้โห!! สะกด จิต ได้ จริงๆ ด้วย เก่งจังเลย 555+


สะกดจิต เมืองไทยไม่ธรรมดา

สมัยก่อน...กับคำว่า “สะกดจิต” อาจทำให้ใครต่อใครคิดไปในเชิง “เร้นลับ-น่ากลัว” แต่มาถึงสมัยนี้...มิใช่อีกต่อไป ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ในเมืองไทยก็มีคดีครึกโครมคดีหนึ่งซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีเรื่องการ “สะกดจิต” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จริง-ไม่จริงก็ว่ากันไป แต่ที่แน่ ๆ เรื่องสะกดจิตนี้ในไทยก็มีผู้สนใจมาก...

“สะกดจิต” ปัจจุบันเข้ามาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และในเมืองไทยก็มี
“ชมรมนักสะกดจิต” เกิดขึ้นด้วย !!

ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์คลังปัญญาไทย www.panyathai.or.th ระบุว่า... การ
“สะกดจิต” เริ่มต้นขึ้นที่อียิปต์และแพร่เข้าไปในกรีก จนกระทั่งยุโรป ซึ่งให้การต้อนรับวิชานี้อย่างอบอุ่น ระยะต่อมาบุคคลที่สนใจได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เมสเมอร์ แพทย์ชาว เวียนนาได้กล่าวถึงการสะกดจิตว่า “เกิดขึ้นจากอำนาจแม่เหล็กของผู้สะกดผ่านเข้าไปในร่างกายของผู้รับการสะกด”

เมื่ออำนาจแม่เหล็กของผู้สะกดผ่านเข้าไปในร่างกายของผู้รับการสะกด ก็ก่อให้เกิดปฏิกิริยาคือ เกิดความเคลื่อนไหว และรักษาโรคภัยไข้เจ็บภายในร่างกายของผู้รับการสะกดได้ ซึ่ง เมสเมอร์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก จนกระทั่งผู้คนในสมัยนั้นเรียกการสะกดจิตว่า
“เมสเมอริสม์” ซึ่งหมายถึงลัทธิของเมสเมอร์ และต่อมา เจมส์เบรด ได้ขนานนามวิธีการสะกดจิตว่า “ฮิปโน ติสม์” ซึ่งเป็นคำมาจากภาษากรีก โดยฮิปนอสแปลว่าการทำให้หลับ

ถูกสะกดจิต คือภาวะของจิตที่ถูกสะกดให้เคลิบเคลิ้มหรือลืมตัวคล้ายเข้าไปอยู่ในภวังค์ ผู้ถูกสะกดจะอยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น ง่วงซึม ผ่อน คลายความตึงเครียด สมาธิรับคำสั่งและตอบสนองออกไป

ยุคนี้ การสะกดจิตมิใช่เป็นวิธีการที่เร้นลับ ไม่ใช่เรื่องของการแสดง ของนักเล่นกล ไม่ใช่เป็นไสยศาสตร์ แต่เป็น
“วิทยาศาสตร์” ที่มีกฎเกณฑ์ มีความจริง สามารถพิสูจน์และทดลองได้

กล่าวสำหรับในประเทศไทย ก็อย่างที่ได้ระบุไว้แต่ต้น ว่ามี
“ชมรมนักสะกดจิต” ซึ่งประธานชมรมนักสะกดจิตแห่งประเทศไทย ดร.ชนาธิป ศิริปัญญาวงศ์ เผยกับ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... ชมรมนักสะกดจิตแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นมา 12 ปีแล้ว โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาความรู้ที่ไปร่ำเรียนมาจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีลูกศิษย์ลูกหาที่ร่ำเรียนไปจาก ดร.ชนาธิป ไม่ต่ำกว่า 4,000-5,000 คน

ในจำนวนไม่ต่ำกว่า 4,000-5,000 คนนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลในวิชาชีพแพทย์ จิตแพทย์ ทันตแพทย์ จักษุแพทย์ สูติแพทย์ และพยาบาล รวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เล็งเห็นถึงประโยชน์


ก่อนหน้านี้ มีข่าวเล็ก ๆ ที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกต เป็นข่าวชมรม นักสะกดจิตแห่งประเทศไทย จัดอบรมและสาธิตการดูแล
“เด็กพิเศษ” เกี่ยว กับเรื่องนี้ ดร.ชนาธิปบอกว่า... การสะกดจิตเด็กสมาธิสั้น ได้ผลดีในเชิงการแพทย์ รวมถึงเด็กปัญญาอ่อน หรือเด็กพิการ ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐก็ได้เชิญไปบรรยายให้ผู้ปกครองของเด็กกลุ่มนี้ฟัง จึงเป็นที่มาของการจัดอบรมให้ ผู้ปกครองของเด็กกลุ่มนี้ กลุ่มเด็กพิเศษ ที่มีฐานะยากจน

“เรื่องการสะกดจิตเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย แต่เป็นเรื่องไม่แปลกสำหรับต่างประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งแนวคิดคือโน้มน้าวจิตหรือกล่อมเกลาจิตใต้สำนึก ไม่ใช่เรื่องลี้ลับที่เชื่อกันในยุคก่อน”

ผู้สันทัดกรณีบอกอีกว่า... นอกจากกลุ่มเด็กที่ได้กล่าวมาแล้ว การ
“สะกดจิต” ยังมีประโยชน์ต่อคนกลุ่มอื่น ๆ เช่นกลุ่มคนที่มีปัญหาทางสภาพจิตใจรูปแบบต่าง ๆ อาทิ เครียดง่าย โมโหร้าย ใจร้อน กดดันตัวเอง คาดหวัง ตื่นเต้น วิตก ท้อแท้ หดหู่ ฯลฯ รวมถึงมีประโยชน์ในแง่การสร้างความ มั่นใจให้คน เช่น พนักงานขาย

อย่างไรก็ตาม ประธานชมรมนักสะกดจิตบอกว่า... ทุก ๆ ศาสตร์นั้น เมื่อมีประโยชน์ก็อาจมีโทษได้ด้วย เช่นเดียวกับศาสตร์
“สะกดจิต” ที่อาจถูกคนไม่ดีนำไปใช้ในทางไม่ดีได้เหมือนกัน เช่น รูดทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตาม หากสะกดจิตคน 10 คนในสถานที่ทั่วไป อาจมีเพียง 1 คนเท่านั้นที่โดนสะกดจิต ด้วยปัจจัยต่าง ๆ

ปัจจัยที่ว่าก็อาทิ สภาพแวดล้อม ความพร้อม และความไม่พร้อมของผู้ถูกสะกดจิต เช่นบางคนอาจเครียดเรื่องอื่นอยู่ ก็จะไม่ได้ผล ซึ่งประสิทธิภาพของการสะกดจิตนั้นต้องมีปัจจัยเอื้อต่าง ๆ หลายข้อ อาทิ ทำซ้ำ ๆ มีการชี้นำ การสร้างความหวัง การชดเชยสิ่งที่ขาดไป แต่กระนั้นการ
“สะกดจิตหมู่” ก็จะให้ผลดีกว่าสะกดจิตเดี่ยว ๆ เพียงแต่ต้องใช้เวลานานมาก และต้องมีองค์ประกอบ มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการสะกดจิตหมู่

ประธานชมรมนักสะกดจิตบอกต่อไปว่า... การสะกดจิตคนเพื่อจะก่ออาชญากรรมนั้น จะไม่ค่อยเกิดขึ้น เพราะการที่จะทำนั้นทางผู้สะกดจิตจะต้องเตรียมการต่าง ๆ จะค่อนข้างเหนื่อย และอาจไม่คุ้ม อย่างไรก็ตาม หากบุคคลใดตกอยู่ในสภาวะลุ่มหลง มีความทุกข์ที่ผู้จะสะกดจิตล่วงรู้ ก็จะเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เป็นเหยื่อได้

“ดังนั้นอย่าไว้ใจใครง่าย ๆ จงมีสติ อย่าโลภ เพราะการสะกดจิตจะ แผลงฤทธิ์ต่อผู้ถูกสะกดจิตก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีความทุกข์ในใจ ขาดสติ หรือ โลภ และผู้สะกดจิตรู้จุดอ่อน” ...ดร.ชนาธิประบุ ซึ่งก็เป็นแนวทางป้องกันตัว ให้รอดพ้นจากการเป็นเหยื่อคนร้ายได้ในหลายกรณี...ไม่เฉพาะกรณีถูกสะกดจิต

“สะกดจิต” เป็นเรื่องที่ทำได้จริง-มีอยู่จริง...ไม่ใช่เรื่องเร้นลับ
เรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์แล้ว...และเป็นประโยชน์ทางการแพทย์
แต่ที่น่าคิดก็คือ...บางคดี-บางสถานที่ในไทยก็ถูกตั้งข้อสังเกต
ว่าใช้การ “สะกดจิต” เป็นเครื่องมือหลอกคน-ดึงคน ????.




มารู้จักการสะกดจิตและวิธีการสะกดจิตกัน!!




การสะกดจิต เป็นคำพูดที่มนุษย์เราได้ยินกันมานาน เป็นศิลปะที่น่าตื่นใจที่ถูกนำเอามาใช้ในโลกนี้ การสะกดจิตนั้นเริ่มต้นขึ้นที่อียิปต์ และแพร่เข้าไปในกรีก จนกระทั่งยุโรป ซึ่งให้การต้อนรับวิชานี้อย่างอบอุ่น ระยะต่อมามีบุคคลที่สนใจได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อประมาณร้อยกว่าปีมานี้เอง เมสเมอร์ แพทย์ชาวเวียนนาได้กล่าวถึงการสะกดจิตว่า เกิดขึ้นจากอำนาจแม่เหล็กของผู้สะกดผ่านเข้าไปในร่างกายของผู้รับการสะกด ก่อให้เกิดปฏิกิริยา คือเกิดความเคลื่อนไหว และรักษาโรคภัยไข้เจ็บภายในร่างกายของผู้รับการสะกดได้ เมสเมอร์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก จนกระทั่งผู้คนในสมัยนั้นเรียกการสะกดจิตว่า "เมสเมอริสม์" ซึ่งหมายถึง ลัทธิของ เมสเมอร์ นั้นเอง

สามสิบปีต่อมา เจมส์เบรด ได้ขนานนามวิธีการสะกดจิตว่า "ฮิปโนติสม์" เป็นคำมาจากภาษากรีก "ฮิปนอส" ซึ่งแปลว่าการทำให้หลับ


สะกดจิตคืออะไร?

สะกดจิต คือ ภาวะของจิตที่ถูกสะกดให้เคลิบเคลิ้มหรือลืมตัวคล้ายเข้าไปอยู่ในภวังค์ ผู้ถูกสะกดจะอยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น ง่วงซึม ผ่อนคลายความตึงเครียด สมาธิรับคำสั่งและตอบสนองออกไป

การสะกดจิต มิใช่เป็นวิธีการที่เร้นลับ ไม่ใช่เรื่องของการแสดงของนักเล่นกล ไม่ใช่เป็นไสยศาสตร์ แต่เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีกฎเกณฑ์ มีความจริง สามารถพิสูจน์และทดลองได้


ตามที่กล่าวมาแล้วว่า เมื่อผู้ได้รับการสะกดจิตแล้วจะเข้าไปสู่ภวังค์ ภวังค์นี้มีหลายระดับดังนี้

1.ภวังค์ที่อ่อนมาก ผู้ถูกสะกดจะคลายความตึงเครียดเท่านั้น ผู้ถูกสะกดจะบอกผู้สะกดว่ารู้ทุกอย่าง แต่แกล้งอยู่นิ่งๆ

2.ภวังค์อย่างอ่อน เริ่มเข้าสู่ภวังค์มากขึ้น ผู้ถูกสะกดจะลืมตาไม่ขึ้น การหายใจจะช้าและลึก

3.ภวังค์ปานกลาง ผู้รับการสะกดจิตจะปิดตาสนิท อาจถูกทำให้เกิดอาการชาเฉพาะที่ และยกแขนยกขาขึ้นได้ตามที่สั่ง ระยะนี้ผู้รับการสะกดยังจำอะไรต่ออะไรที่ผู้สะกดสั่งได้บ้างแต่เลือนลาง

4.ภวังค์ชั้นลึก ผู้รับการสะกดจะลืมเหตุการณ์ทุกอย่างหมด กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งตามสั่ง อาจถูกทำให้ชาและนำไปผ่าตัดได้โดยไม่ต้องวางยาสลบ ภวังค์ชั้นนี้มีประโยชน์ในการรักษาโรคบางชนิดได้



วิธีการสะกดจิต

วิธีการสะกดจิตมีอยู่หลายวิธี แล้วแต่ความถนัดและความพอใจของผู้สะกดว่าจะเลือกใช้วิธีใด ซึ่งพอจะสรุปได้โดยย่อ ดังนี้

-การใช้เสียงพูดจูงใจโดยตรง เสียงที่พูดจะต้องเป็นเสียงอ่อนๆ มีเสียงประสาน และน้ำเสียงควรอยู่ในระดับเดียวกันตลอด เราจะเห็นว่าเสียงที่แม่กล่อมลูกมีความไพเราะประสานกัน ซ้ำไปซ้ำมา ช่วยให้เด็กเกิดความเคลิบเคลิ้มและหลับไป เสียงของนักสะกดจิตก็คล้ายคลึงกัน

-การใช้ยาบางชนิดฉีดเข้าไปในผู้รับการสะกด ก็มีผลทำให้สะกดจิตได้ แต่ไม่นิยมกัน เพราะควบคุมไม่ได้ และทำให้ตื่นในเวลาที่ต้องการไม่ได้

-การให้ฟังเสียงบางอย่างที่ก่อให้เกิดความเคลิบเคลิ้ม เช่น ฟังเสียงของนาฬิกา เสียงดนตรี เป็นต้น

-การใช้วัตถุเคลื่อนไหวในระดับเดียวกับนัยน์ตาของผู้รับการสะกด อาจจะให้วัตถุเคลื่อนไปมาหรือเคลื่อนใกล้เข้ามาที่หน้าของผู้รับการสะกดทีละน้อยๆ พร้อมกับพูดจูงใจไปเรื่อยๆ ก็จะมีผลทำให้ผู้ป่วยตาลาย คลายความตึงเครียดและเข้าสู่ภวังค์ได้

-เทคนิคในการสะกดจิต เสียงและน้ำเสียงเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสะกดจิต น้ำเสียงที่อยู่ในระดับเดียวกันหรือที่เรียกว่า "เสียงโมโนโทน" จะเป็นสิ่งจูงใจได้อย่างดียิ่ง คำพูดที่ใช้ในการสะกดมีความสำคัญมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน การใช้คำพูดที่มีความหมาย การใช้ภาษาพูดที่สุภาพแต่แฝงไว้ด้วยอำนาจในการสั่งซ้ำกันบ่อยๆ และกลมกลืนกันในบรรยากาศที่เงียบสงบ ก็จะทำให้การสะกดจิตดำเนินไปอย่างได้ผล



atcloud.com