เรือนไทย







สิ่งที่คุ้นเคยกับชีวิตเราตั้งแต่เกิดจนเติบโตมาถึงทุกวันนี้ก็คือบ้าน
เราจะไปโรงเรียน ไปเที่ยว หรือไปธุระแห่งหนใดก็ตาม ในที่สุดเราก็กลับบ้านของเรา


เมื่อก่อนคนเรายังไม่รู้จัดสร้างบ้านปลูกเรือน ได้แต่อาศัยอยู่ตามถ้ำเชิงผา โคนต้นไม้ใหญ่


ต่อมารู้จักเอากิ่งไม้มาทำเป็นโครง เอาใบไม้มามุงเป็นหลังคาทำเป็นฝา เป็นเพิง ดัดแปลงตกแต่งกันไปเรื่อย ๆ รู้จักรักสวยรักงามเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย ในที่สุดก็กลายมาเป็นบ้านเรือนเหมือนทุกวันนี้


เรือนของปู่ ย่า ตา ยาย ของเรานั้น ยังพอหาดูได้ตามต่างจังหวัด มีหลังคาสูง แหลม บ้างมุงด้วยกระเบื้อง บ้างมุงด้วยจาก หญ้าคาใบตองตึง ยกใต้ถุนสูง มีห้องนอน ห้อง ครัว ระเบียงและชานอยู่ชั้นบน


ที่ใต้ถุน ใช้เป็นที่นั่งเล่น ที่เก็บของ บางครั้งก็ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ฝาเรือ นทำด้วยไม้สักบ้าง ไม้ไผ่บ้าง ใบไม้บ้าง พื้น เสา และโครงหลังคาเป็นไม้เหมือนฝา บาง หลังต่อชายคาออกมาเพื่อกันแดดส่อง และกันฝนสาดด้วย

เรามักจะเรียกที่พักอาศัยว่า "บ้าน" เสมอ ความจริงบ้าน คือ ส่วนที่มีบริเวณที่ดินโดยรอบรวมกับตัวอาคารทั้งหมด เฉพาะตัวอาคารนั้น เรียกว่า "เรือน" ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางจนถึงภาคใต้ของประเทศไทย มีเรือนพักอาศัยแตกต่างกันหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นที่ตั้งและ สภาพแวดล้อม
เรือนไทยทั่วไปเป็นเรือนยกพื้นใต้ถุนสูง ประกอบด้วยห้องนอน ห้องครัว ระเบียง และชาน หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้องดินเผา จาก แผก หญ้ าคาหรือใบตองตึง เรือนของผู้มีอาชีพต่าง ๆ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เรือนผู้มีฐานะอันจะกิน (คหบดี) เรือนที่อ ยู่ในเมือง เรือนที่อยู่ในชนบท เรือนชาวเขา เรือนชาวประมง มีรายละเอียดแตกต่างกันไป ซึ่งพอสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ เรือนไทยเดิมที่มีแบบแผนและเรือนพื้นบ้านในชนบททั่วไป
เรือนไทยเดิม ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองและในเขตนอกเมือง เป็นเรือนที่มีรูปร่างลักษณะแบบแผนของแต่ละหลังที่แน่นอนแ ละคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ จะแตกต่างกันบ้างในส่วนที่เป็นขนาดของเรือน แบบฝาแต่ละชนิด การจัดชาน การวางบันได และส่วนปลีกย่อยอื่น ๆ เท่านั้น
เรือนประเภทนี้ มีวิธีการก่อสร้างที่ละเอียดประณีต เป็นเรือนที่ถาวรและทนทาน มีอายุอยู่ได้นานตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เรือนไทยเดิม ที่มีแบบแผนดังกล่าว มีอยู่ในเขตภาคเหนือและภาคกลาง
เรือนพื้นบ้าน เป็นเรือนที่สร้างขึ้นในชนบทและใกล้ชุมชน ซึ่งผู้เป็นเจ้าของมีอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และประมง เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน และชาวประมง จะใช้วัสดุท้องถิ่นที่หามาได้ง่าย ๆ ราคาถูก ฝีมือปลูกสร้างไม่ใคร่ประณีต แต่มีความงามทางด้านรูปทรง สัด ส่วน ขนาดของตัวไม้ ตลอดจนมีความกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างดียิ่งเรือนพื้นบ้านนี้มีอยู่ในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
ลักษณะเรือนไทยในแต่ละภาคคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร



เรือนไทยภาคกลาง
เรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนไทยที่สร้างขึ้นภาคกลางของประเทศไทย มีลักษณะแบบแผนของแต่ละหลังที่แน่นอนและคล้ายคลึงกันเ ป็นส่วนใหญ่ มีอายุประมาณ 100-150 ปีมาแล้ว ลักษณะหลังคาทรงมนิลาสูง มีปั้นลม กันสาดและใต้ถุนสูง เนื่องจากเรือนไทยในภาคกลางมีลักษณะเฉพาะอย ่างนี้ คนทั่วไปจึงเรียกว่า เรือนไทยเดิมภาคกลาง
เรือนไทยภาคเหนือ
เรือนไทยภาคเหนือ เป็นเรือนยกใต้ถุนสูงคล้ายเรือนไทยภาคกลางแต่มีลักษณะอื่น ๆ แตกต่างกันมาก เพราะดินฟ้าอากาศ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน ฤดูหนาว หนาวกว่าภาคกลางมาก ทำให้ลักษณะเฉพาะทางรูปทรงหลังคาและสัดส่วนของเรือนเตี้ยคลุ่มมากกว่า เจาะช่องหน้าต่างแคบๆ เล็กๆ กันลมหนาว การจัดกลุ่มอาคาร และการวางแปลนห้องต่าง ๆ มีความสมดุลแบบสองข้างไม่เหมือนกัน และเชื่อมต่อเรื อนเหล่านั้นด้วยชานอย่างหลวมๆ เรือนทุกรูปแบบมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ และมีคุณค่าทางศิลปะด้านสถาปัตยกรรมอย่างดียิ่ง
เรือนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนกว้างใหญ่ ประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ ถึง 17 จังหวัด ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม เช่นเดียวกับภาค อื่น ๆ อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนาข้าวเหนียว นอกจากนั้นประกอบอาชีพปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ปอ และเลี้ยงสัตว์ไว้ใ ช้แรงงานตลอดจนเลี้ยงไว้บริโภค อาชีพเหล่านี้ต้องพึ่งดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยจึงจะส่งผลดี แต่สภาพภูมิประเทศภาคนี้เป็นที่ราบแบบลูกคลื่น พื้นดินเป็นดินปนทรายน้ำซึมได้ง่าย จึงทำให้บริเวณแถบนี้แห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและบริโภค ทำให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับต ่ำกว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ
สภาพของบ้านเรือนมีลักษณะเป็นไปตามผลผลักดันทางด้านภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจโดยตรง รวมทั้งคติความเชื่อต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดสืบต่อ กันมา

8 ลักษณะของเรือนไทยเดิมภาคกลางเป็นมีอะไรบ้าง



เรือนไทยภาคกลาง
ประกอบด้วยเรือนลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
เรือนครอบครัวเดี่ยว เป็นเรือนหอของครอบครัวที่สร้างใหม่สำหรับสามีภรรยาและลูกเล็ก ๆ
เรือนครอบครัวขยาย โดยสรุปแล้วผังของเรือนครอบครัวขยายมี 3 แบบ คือ
1. ปลูกเรียงเป็นแถวไปตามยาวต่อจากเรือนของพ่อแม่
2. จัดวางตัวเรือนเป็นกลุ่ม มีชานเชื่อมตรงกลาง ชานเชื่อมนี้เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม
3. ปลูกเรือนขึ้นใหม่อยู่บริเวณใกล้ๆ เป็นหลังๆ ไม่มีชานเชื่อม
เรือนคหบดี เป็นเรือนของผู้มีฐานะ เจ้าของตั้งใจสร้างขึ้นให้มีขนาด ใหญ่โตหรูหรา เห็นได้ชัดเจนจากการวางผัง
เรือนร้านค้าริมน้ำ เป็นเรือนที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นร้านค้าขาย รวมทั้งกินอยู่หลับนอน ฉะนั้นประโยชน์ใช้สอยจึงต่างกับเ รือนพักอาศัยทั่วไปเรือนแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหน้าเปิดเป็นร้านค้ามีที่สำหรับวางสินค้า ส่วนหลังเป็นที่อยู่อาศัย
เรือนแพ เรือนแพคือร้านค้าริมน้ำที่ลอยน้ำเคลื่อนที่ไปมาได้ รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยหลับนอน มีลักษณะเหมือนเรือนไทย แฝด หลังในเป็นที่พักผ่อนหลับนอน ส่วนหลังนอกเป็นร้านค้า มีฝาหน้าถังปิดเปิด ด้านหน้าเป็นระเบียง ติดกับน้ำบางหลังมีระเบียง รอบ ตัวเรือน มี 2 ชนิด คือ
1. ใช้ไม่ไผ่ผูกรวมกันเป็นแพ เรียกว่าแพลูกบวบ
2. ใช้ไม้จริงต่อเป็นแพสี่เหลี่ยมยาว เรียกว่า โป๊ะ มีโครงอยู่ภายในลักษณะคล้ายเรืออุดยาด้วยชันผสมน้ำมันยาน ติดต่อกัน 3-5 โป๊ะต่อเรือน 1 หลัง แพทั้งสองแบบนี้ ต้องซ่อมแซมทุกปี
เรือนร้นค้าริมทาง เรือนร้านค้าริมทางเป็นเรือนที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการค้า และใช้พักอาศัยไปในตัว มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับเรือนร้านค้าริมน้ำ การขนส่งใช้เกวียนเป็น พาหนะ
เรือนตำหนัก เป็นเรือนสำหรับเชื้อพระวงศ์หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีขนาดใหญ่หลายช่วงเสา ลักษณะคล้ายกุฎิสงฆ์ ซึ่งนำมารวมกันจำนวน 6-9 ห้อง ฝาลูกปะกน มีสัดส่วนใหญ่โตกว่าเรือนธรรมดา ลบมุมลูกตั้ง ลูกนอนด้านหน้าเป็นระเบียง มุมสุดหัวท้ายของระเบียงกั้นเป็นห้องน้ำ ห้องส้วมและห้องเก็บของ ระเบียงนี้ เรียกว่า พะไล ถ้าเจ้าของเรือนเป็นเชื้อพระวงศ์ จะมีช่อฟ้าใบระกา ประดับปลายหลังคา ด้านหน้าจั่ว
กุฎิสงฆ์(กุฎิสงฆ์)กุฎิสงฆ์เป็นเรือนพักอาศัยชนิดหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ ลักษณะคล้ายเรือนทั้งหลายที่กล่าวมา กุฎิบางหลังเป็นเรือนของชาวบ้านรื้อมาถวาย เพราะเป็นเรือนของบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญไปให้ แต่กุฎิสงฆ์ทั่วไป นั้น มีลักษณะมากมายหลายแบบ

ลักษณะเด่นของเรือนไทยภาคกลาง มีอะไรบ้าง



ลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง
1. เป็นเรือนยกใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ รวมทั้งระเบียงและชานก็ยกสูงด้วย การยกใต้ถุนสูงนี้มีระดับลด หลั่นกัน พื้นระเบียงลดจากพื้นห้องนอน 40 เซนติเมตรพื้นชานลดจากระเบียงอีก 40 เซนติเมตรและปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง การลดระดับ พื้นทำให้ได้ประโยชน์ดังนี้ คือ ช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมาข้างบน สามารถมองลงมายังใต้ถุนชั้น ล่างได้ และใช้ระ ดับลด 40 เซนติเมตรไว้เป็นที่นั่งห้อยเท้า
2. หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว หลังคาของเรือนไทยเป็นแบบทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครงและใช้จาก แฝกหรือกระเบื้องดินเผ าเป็นวัสดุมุงหลังคา วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก น้ำฝนจึงจะไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคา ทรงสูงนี้ มีผลช่ วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง ทำให้ที่พักอาศัยหลับนอนเย็นสลาย สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้า จั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศ โดยใช้ไม้ตีเว้นช่องหรือ ทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก ได้กล่าวมาแล้วว่า ดิ นฟ้าอากาศของภาคกลาง แดดแรงจัด อุณหภูมิบางเดือนสูงถึง 39.9 องศาเซลเซียส ฝนชุก จึงจำเป็นต้องต่อเติมกันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือ นมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด
3. ชานกว้าง เมื่อมองดูแปลนของเรือนไทยทั่วไปจะเห็นพื้นที่ของชานกว้างมาก มีปริมาณถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด (ห้องระเบียงชาน) ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วยจะมีปริมาณถึงร้อยละ 60 พื้นที่นี้เป็นส่วนอาศัยภายนอก ส่วนที่อาศัยหลับนอ นมีฝา กั้นเป็นห้อง มีเนื้อที่เพียงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด สาเหตุที่พื้นที่อยู่อาศัยภายนอกมีปริมาณมาก เพราะดินฟ้าอากาศร้อนอบอ้าวนั่นเอง

ทำไมเรือนไทยจึงยกใต้ถุนสูง



การยกพื้นเรือนให้สูงขึ้นนั้นมีเหตุผลหลายประการ คือ
ก. เพื่อให้มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือคนร้ายในเวลาค่ำคืน
ข. เพื่อป้องกันน้ำท่วมถึง ในทุกภาคของประเทศจะเกิดน้ำท่วมเป็นบางเดือนเกือบทุกปีภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะ เกิดน้ำท่วมเพราะมีพายุฝนตกหนัก ส่วนภาคกลางนั้นน้ำท่วมเพราะน้ำเหนือไหลบ่าลงมา รวมทั้งน้ำทะเลขึ้นหนุนประมาณเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคมเกือบทุกปี ถ้าเกิดน้ำท่วมก็จะได้ย้ายสิ่งของและเครื่องใช้ต่าง ๆ จากใต้ถุนขึ้นไว้บนเรือน
ค. ใช้ใต้ถุนเป็นที่เก็บของและเครื่องใช้เกี่ยวกับการเกษตร
ง. ใช้ใต้ถุนเป็นที่ประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ ทำร่ม ทอผ้า ทอเสื่อ ปั่นฝ้าย ตำข้าว (ด้วยครกกระเดื่อง) และใช้เป็นที่พักผ่อน โดยตั้งแคร่นั่งเล่นในเวลากลางวัน ชาวบ้านบางแห่งแบ่งส่วนใต้ถุนไว้เลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ หมู วัว ควาย ฯลฯ การเ ลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ถุนจะทำให้สกปรก ส่งกลิ่นเหม็นและเกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก บางท้องที่แยกสัตว์ไว้ในคอกต่างหากนี้ดีกว่าการเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ถุน นอกจากนี้ยังใช้ใต้ถุนเป็นที่จัดงานประเพณีต่าง ๆ

ชานบ้านสำคัญไฉน ทำไมจึงมีพื้นที่กว้างมาก


ชานเป็นส่วนสำคัญมากเท่ากับเรือนนอนและเรือนครัว การพักผ่อนในร่มเราอาศัยเรือนนอนแต่การพักผ่อนภายนอกนั้นเราอาศัยชานและระเบียง ชานเป็นที่เปิดโล่งรับแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์ ลมพัดผ่านได้สะดวก เหมาะสำหรับเป็นที่นั่งเล่นในเวลาเย็นและเวลา ค่ำอันแสดงให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมเมืองร้อนชื้นได้ดี
ชานใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง คือ ใช้พักผ่อน นั่งเล่น และจัดงานประเพณี อันเกี่ยวเนื่องมาจากคตินิยมแต่เดิม เช่น โกนจุก ทำบุญเลี้ยงพระ แต่งงาน นอกจากนี้ ชานยังมีหน้าที่เชื่อมเรือนนอน เรือนครัว และเรือนอื่นๆ เข้าด้วยกัน แต่เป็นการเชื่อมอย่างหลวม ๆ เรือนหมู่กุฏิสงฆ์หรือเรือนใหญ่คหบดี มักมีต้นไม้ใหญ่ปลูกไว้กลางชาน ช่วยให้บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายขึ้น ทำให้อาคารกับธรรมช าติมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี ต้นไม้ที่ปลูกได้แก่ ตันจัน ต้นจำปี ต้นขนุน และต้นมะม่วง บางมุมของชานปลูกต้นไม้ประดับไว้ดูเล่น ได้แก่ บอนชนิดต่าง ๆ ว่าว โกรต๋น กระโกดัด บัวใส่ตุ่ม นอกจากนั้นยังมีสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ เลี้ยงไว้ในกรงแขวนและในภาชนะวางไว้ที่ชานด้วย เช่ น นกเขา นกดุเหว่า นกขุนทอง นกสาลิกา ปลากัด และปลาเข็ม เป็นต้น ซึ่งให้ความสำราญและความเพลิดเพลินแก่เจ้าของเรือนเป็นอย่างมาก

"ตูบ" ในที่นี้หมายถึงอะไร



เรือนไทยภาคเหนือ
เรือนชั่วคราวหรือเรือนเครื่องผูก ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ตูบ" หมายถึง เรือนที่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ ใช้เสาไม้ไผ่ พื้นทำด้วยไม้สาน หรือฟากสับ ฝาทำด้วยไม้ไผ่ขัดแตะหรือแผงไม้ซางสานเป็นลายต่างๆ เช่น ลายอำโครงหลังคาก็ทำด้วยไม้ไผ่ เช่นกัน ก ารยึดโครงสร้างต่างๆ คล้ายเรือนพื้นบ้านภาคกลาง เรียกว่าเรือนเครื่องผูก ใช้วิธีเจาะรูและฝังเดือย ผูกด้วยดอกหรือหวาย หลังคามุงด้วยหญ้าคาหรือใบตองตึง มีห้องนอน 1 ห้อง ไม่แยกเรือนครัวออกจากเรือนนอน ใช้เป็นสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว เช่น กระต๊อบเฝ้าทุ่ง หรื อสร้างเป็นเรือนชั่วคราวสำหรับครอบครัวหนึ่งๆ ก่อนที่จะสร้างเรือนถาวรขึ้นภายหลัง

สภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดหมู่บ้านหลายๆ ลักษณะอะไรบ้าง



หมู่บ้านริมน้ำ
ชาวบ้านที่มีอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยในการผลิต เขาจึงสร้างบ้านเรือนเป็นหมู่ รวมตัวกันตามริ มแม่น้ำลำคลองและขยายไปตามความยาวของลำน้ำนั้น ชาวบ้านในภาคกลางชอบเรียกหมู่บ้านเช่นนี้ว่า "บาง" และใช้เป็นคำขึ้นต้นของหมู่บ้านเหล่ านี้เสมอ
หมู่บ้านริมทาง
หมู่บ้านริมทาง เกิดขึ้นจากการสัญจรไปมาของผู้คนที่ใช้ยานพาหนะทางบก ซึ่งจะมาหยุดพักตรงช่วงนั้น ชาวบ้านจะนำ สินค้ามาแลกเปลี่ยนซื้อขายตามชุมทางต่าง ๆ และสร้างบ้านเรือนขึ้นแล้วขยายไปตามความยาวของถนนจนเป็นแถวทั้งสองข้าง ทาง เช่น หมู่บ้านในจังหวัดลำปา ง
หมู่บ้านดอน
หมู่บ้านดอน เกิดขึ้นตามท้องไร่ท้องนาที่อยู่ห่างจากลำน้ำและริมทางชาวบ้านได้สร้างบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มบนพื้นที่ที่สูงกว่านาและไร่ มีสภาพคล้ายเกาะ เรียกว่า "ดอน"
หมู่บ้านกระจัดกระจาย
หมู่บ้านประเภทนี้มีสร้างอยู่ห่างกันอย่างโดดเดี่ยวเป็นหลัง ๆ ในที่นาสวนไร่และเชิงเขา มีทั้งแบบกระจัดกระจายเป็นกลุ่ม หลวม ๆ และกระจัดกระจายเป็นแถว แล้วแต่สภาพพื้นที่
หมู่บ้านริมสันเขา
ท้องที่ใดมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นภูเขามากกว่าที่ราบ การทำไร่ทำนาต้องทำเป็นแบบทดน้ำระบบเหมืองฝาย หมู่บ้านที่เกิด ขึ้นจึงจำเป็นต้องเกาะกลุ่มเรียงรายอย่างเป็นระเบียบสอดคล้องไปตามสันเขา มีทั้งแบบเป็นกลุ่มและกระจัดกระจายเป็นแถว
หมู่บ้านชาวประ
หมู่บ้านชาวประมงมีลักษณะเช่นเดียวกันกับหมู่บ้านริมน้ำ ชาวบ้านมีอาชีพเพาะเลี้ยงและจับสัตว์น้ำ จึงปลูกเรือนเป็นกลุ่มเรียงรายไปตามริมฝั่งทะเล ปากน้ำ หรือรอบ ๆ เกาะ มีลักษณะพัฒนาไปตามทางยาวริมหาด

แต่งบ้านแบบไทยประยุคต์ค่ะ





http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&group=45