เปิดโปงสกุลไฟล์ เกี่ยวกับงานกราฟฟิค (Photoshop)




photoshop-3d-design

เนื่องจากโปรแกรม Photoshop จะมีรูปแบบการบันทึกข้อมูลของภาพค่อนข้างหลากหลาย (รวมถึงโปรแกรมประเภทเดียวกัน)
เพื่อใช้ในงานต่างๆกัน เพื่อนบางคนอาจยังไม่ทราบว่าเวลาที่เราบันทึก เราควรจะบันทึกใน Format ใดกันแน่ เดี๋ยววันนี้เรา
จะขออาสาพาท่านไปรู้จักกับชนิดไฟล์ที่คุณควรจะรู้ และจำใส่กบาลเอาไว้ หากคิดจะเป็นกราฟฟิคดีไซเนอร์ ก็จงรู้จักพื้นฐานก่อน

Photoshop (.psd) นามสกุลแรกเป็นนามสกุลของโปรแกรม photoshop เอง มีประโยชน์สุดๆ เนื่องจากจะทำการบันทึก
แบบแยกเลเยอร์เก็บเอาไว้ให้คุณแก้ไขได้ในภายหลัง จะใช้โปรแกรมอื่นเปิดไฟล์นี้มาแก้ไม่ได้ เราขอแนะนำให้คุณบันทึก
ไฟล์ในรูปแบบนี้เอาไว้ทุกครั้ง เผื่อเรียกแก้ไขยามฉุกเฉิน จะได้ไม่ต้องมานั่งทำใหม่อีก

JPEG , JPG (.jpg) ถ้าหากคุณบันทึกในรูปแบบนี้ คุณภาพของภาพอยู่ในขั้นพอยอมรับได้ มีคุณสมบัติในการบีบอัด
ขนาดไฟล์ได้ ทำให้สามารถนำไปใช้งานบนเว็บไซท์ หรือ งานสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เน้นคุณภาพของภาพมากนัก ลองดูตัวอย่างภาพ
ด้านล่างเพื่อเปรียบเทียบ ฝั่งซ้ายมีขนาดประมาณ 12K ในขณะที่ฝั่งขวาถูกบีบอัดซะจนไข่เริ่มเขียว อยู่ที่ 4K คุณจะสังเกต
เห็นความหยาบกร้านมากขึ้น แต่ผลที่ได้คือความรวดเร็วในการเปิดรับชมที่ไวขึ้น



BMP (.bmp) รูปแบบที่แสนคลาสสิค เป็นมาตราฐานของ Microsoft windows แสดงผลได้ 16.7 ล้านสี บันทึกได้ทั้งโหมด
RGB, Index Color, Grayscale และ Bitmap สามารถเปิดใช้งานได้หลายโปรแกรม แต่คุณภาพจะสู้รูปแบบ JPEG ไม่ได้


GIF (.gif) เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลง ใช้กับรูปภาพที่ไม่ได้เน้นรายละเอียดสีที่สมจริง ไม่เหมาะกับภาพถ่าย จะเหมาะกับ
ภาพการ์ตูน ภาพแนว vector มากกว่า เนื่องจากมีการไล่ระดับเฉดสีเพียง 256 สี ทำให้มีความละเอียดไม่เพียงพอ แต่มีคุณ-
สมบัติพิเศษคือ สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย หรือที่เรียกกันว่า Gif Animation สรุปว่าเป็นไฟล์ที่เหมาะมากบนเว็บไซท์




ตัวอย่างไฟล์ที่ถูกบันทึกในรูปแบบ .gif มีความคมชัดหากเป็นไฟล์ที่มีสีตัดกันชัดเจน และไม่มีการไล่ระดับโทนสีมากนัก และยัง
ได้ขนาดไฟล์ที่โคตรเล็กอีกด้วย อย่างภาพสตรีคาบบุหรี่โลหิตมีขนาดเพียง 4K หากคุณบันทึกแบบ JPEG ด้วยความละเอียดที่
ยอมรับได้ จะมีขนาดประมาณ 7 - 8K แถมความคมกริบยังห่างกันอยู่บ้าง


TIFF (.tif) นามสกุลที่มีความยืดหยุ่นและคุณภาพสูงสุดขีด บันทึกแบบ Cross-platform จัดเก็บภาพได้ทั้งโหมด Grayscale
Index Color, RGB และ CMYK เปิดได้ทั้งบนเครื่อง Mac และ PC เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อรู้เช่นนี้
น้องๆหลายคนที่ยังมั่วนิ่มอยู่ ก็ลองพิจารณารูปแบบการบันทึกไฟล์ใหม่นะจ๊ะ

EPS (.eps) นามสกุลที่ใช้เปิดในโปรแกรม Illustrator แต่สามารถบันทึกได้ในโปรแกรม Photoshop สนับสนุนการสร้าง
Path หรือ Clipping Path บันทึกได้ทั้ง Vector แะ Rastor สนับสนุนโหมด Lab, CMYK, RGB, Index Color, Duotone
และ Bitmap


PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ 32 บิตของ Macintosh แสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี สามารถ
บีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมด RGB เท่านั้นครับ

PNG (.png) เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในเว็บไซท์ สามารถบีบอัดขนาดไฟล์ลงได้พอสมควร โดยที่ยังรักษาคุณภาพของภาพ
เอาไว้ได้ และที่สำคัญสามารถเลือกระดับสีใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี มีการคาดกันว่าจะมาแทนที่ไฟล์ GIF ไม่ช้าก็เร็ว


RAW (.raw) นามสกุลใหม่แต่โคตรดิบระห่ำจุดนรก เหมาะสำหรับภาพถ่ายจริงๆ ชื่อมันก็แปลตามตรงว่า "ดิบ" หมายถึงไม่มี
การบีบอัดข้อมูลภาพใดๆเลยทั้งสิ้น รายละเอียดจึงยังครบถ้วน แต่ขนาดไฟล์ก็อลังการสุดๆเช่นกัน ปัจจุบันหาโปรแกรมมาเปิด
ไฟล์ชนิดนี้ยากอยู่ เพราะส่วนใหญ่จะแถมโปรแกรมมากับกล้องดิจิตอลที่สามารถบันทึกไฟล์ในรูปแบบ RAW ได้เท่านั้น


ขอขอบคุณบทความนี้จาก Hardcoregraphic.com
www.zone-it.com