GEM Invesment


อัญมณี คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้าง ธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่างๆ

อัญมณี รัตนชาติ และ พลอย เป็นคำที่ใช้สื่อ ความหมายเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเพียงแต่ว่าอัญมณี และรัตนชาติ มักจะใช้เรียกเป็นทางการ หรือเป็นภาษาเขียน ทั้งสองคำนี้ มีความหมายเดียวกัน

และหมายความถึงเพชรด้วย ที่ควรสังเกต คำว่า "อัญมณี" เป็นคำที่ใช้กันมากในทางการค้า
ส่วนคำว่า "พลอย" มักจะเป็นคำเรียกใช้ทั่วไปตามภาษาพื้นบ้าน มีความหมาย
ใกล้เคียงกับสองคำแรก แต่โดยปกติไม่หมายรวมถึง "เพชร" เพชรเป็นคำใช้เฉพาะตัวสำหรับเพชรเท่านั้น
แต่เมื่อกล่าวถึง สิ่งเหล่านี้เป็นกลุ่มเรียกรวมกันว่า "เพชรพลอย" ทั้งสามคำ
อัญมณี รัตนชาติ และเพชรพลอย ควรจะตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Gems" และ "Gemstones"

อัญมณี รัตนชาติ และ พลอย เป็นคำที่ใช้สื่อ ความหมายเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเพียงแต่ว่าอัญมณี

และรัตนชาติ มักจะใช้เรียกเป็นทางการ หรือเป็นภาษาเขียน ทั้งสองคำนี้ มีความหมายเดียวกัน
และหมายความถึงเพชรด้วย ที่ควรสังเกต คำว่า "อัญมณี" เป็นคำที่ใช้กันมากในทางการค้า
ส่วนคำว่า "พลอย" มักจะเป็นคำเรียกใช้ทั่วไปตามภาษาพื้นบ้าน มีความหมาย
ใกล้เคียงกับสองคำแรก แต่โดยปกติไม่หมายรวมถึง "เพชร" เพชรเป็นคำใช้เฉพาะตัวสำหรับเพชรเท่านั้น
แต่เมื่อกล่าวถึง สิ่งเหล่านี้เป็นกลุ่มเรียกรวมกันว่า "เพชรพลอย" ทั้งสามคำ
อัญมณี รัตนชาติ และเพชรพลอย ควรจะตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Gems" และ "Gemstones"

อัญมณี หรือ "Gems" ในความหมายของ สถาบัน อัญมณีศาสตร์แห่งอเมริกา หมายถึงแร่ (Minerals) และ/ หรือ สารประกอบอินทรีย์ (Organic materials) ที่นำมา ใช้เป็นเครื่องประดับ มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ มีความสวยงาม (Beauty), ความทนทาน (Durability) และหาได้ยาก (Rarity) สถาบันดังกล่าวยังได้จัดแยกอัญมณีออกเป็น2 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ "Diamonds" และ"Colored Stones" คำหลังเป็นคำทีใช้กันในวงการธุรกิจอัญมณี หมายถึงแร่ และ สารประกอบอินทรีย์ ที่มีคุณสมบัติรัตนชาติทั้งหลาย แต่ไม่หมาย รวมถึงเพชร เช่นเดียวกับคำว่า "พลอย" ของทางไทยเรา (ซึ่งไม่รวมเพชร) ดังนั้น หากจะเทียบคำกับ สถาบันอัญมณีศาสตร์
แห่งอเมริกา พลอยในภาษาอังกฤษคือ Colored Stones และ พลอยเป็นส่วนหนึ่งของอัญมณี หรือรัตนชาติ หากจะแบ่งออก ให้ละเอียดมากกว่านี้ บางท่านอาจแยก ไข่มุก ออกมาเป็นรัตชาติ ในอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้

แร่ คือ ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมีและสมบัติอื่นๆ ที่แน่นอน หรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด แร่ที่พบตามธรรมชาติ มีมากเกินกว่า 2,000 ชนิด จะมีแร่อยู่ประมาณ 90 ชนิด ที่มีความสวยงาม และความคงทนพอที่จะจัดเป็นรัตนชาติได้

ตามคำจำกัดความข้างต้น แต่ที่รู้จักกันทั่วไป และสำคัญ ในวงการอัญมณีจริงๆ แล้ว มีเพียงประมาณ 20 ชนิดเท่านั้น ส่วนสารประกอบอินทรีย์ คือสารซึ่งเกิดจาก สิ่งมีชีวิต สารประกอบอินทรีย์ ที่มีคุณสมบัติเป็น รัตนชาติได้แก่ ไข่มุก (Pearl) ปะการัง (Coral) อำพัน (Amber) และ เจ็ต (Jet) ฯลฯ

ส่วนคำว่า "หิน" นั้นเป็นอีกคำหนึ่ง ที่มักจะมีการใช้กันอย่างสับสน กับคำว่า "แร่" ในทางวิชาการ หิน หมายถึงมวลของแข็ง ที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียว หรือหลายชนิด รวมตัวกันอยู่ ตามธรรมชาติ

แบ่งออกเป็น3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

หินอัคนี(Igneous rock), หินชั้น หรือหินตะกอน (Sedimentary rock) และหินแปร (Metamorphic
rock)

ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น โดยทั่วไปอัญมณี รัตนชาติ และพลอยนั้น ทางวิชาการมักจะหมายถึงแร่ แต่บางครั้งในวงการรัตนชาติ จะหมายรวมถึงหินบางชนิดที่นำมาทำเป็นเครื่องประดับด้วย เช่น หินปูน หรือ หินอ่อน ที่มีลายชั้นที่ทราบกันในชื่อ โอนิกซ์ มาเบิ้ล (Onyx marble) หินออบซิเดียน (Obsidian) หรือแก้วภูเขาไฟชนิดหนึ่งซึ่งมีสีดำ ลาพิส ลาซูลี (Lapis lazuli) ซึ่งประกอบด้วยแร่ลาซูไรต์ (Lazurite) สีน้ำเงิน โดยมีแร่แคลไซต์
(Calcite) แร่ไพไรต์ (Pyrite) และแร่ไดออปไซด์ (Diopside) ปนภายในเนื้อ หรือแม้กระทั่งหินแกรนิตสีชมพู
(ประกอบด้วยแร่ควอรตซ์ เฟลด์สปาร์สีชมพู และแร่เอพิโดต) ปัจจุบันยังมีการนำมาเจียระไนทำเป็นเครื่องประดับ ทราบกันในชื่อของ ยูนาไกต์ (Unakite) เป็นต้น

โดยสรุป อัญมณี หรือรัตนชาตินั้นก็คือ แร่ที่มีคุณสมบัติเด่นพิเศษภายในตัว สามารถนำมาเจียระไนตกแต่ง
แปลงรูปเป็นเครื่องประดับ แลดูสวยงาม มีคุณค่า แต่บางครั้งอาจหมายถึงสิ่งของที่มีความสวยงามในตัวหรือสารประกอบอินทรีย์ทั้งหลาย เช่น อำพัน ปะการัง ไข่มุก และหินบางชนิด เป็นที่น่าสังเกตว่า สำหรับคำว่า "พลอย"
ทางไทยเราใช้เรียกสิ่งที่เกิดตามธรมชาติ และแม้กระทั่งของสังเคราะห์ หรือทำเทียมเลียนแบบ ของแท้ธรรมชาติ แล้วนำมาเจียระไนเป็นเครื่องประดับ เช่น เรียก "พลอยกระจก" ซึ่งทำมาจากแก้ว และเรียกพลอยสังเคราะห์บางชนิดว่า "พลอยอัด" เป็นต้น

อัญมณี..คุณค่าและความงามแห่งความเป็นอมตะ

ความงดงาม

ความงดงามแห่งอัญมณี ถูกแสดงออกมา อย่างไม่จำกัดรูปแบบ นับตั้งแต่ความแจ่มจรัส พราวแสงของเพชร ไปจนกระทั่ง ความงามจากสีเลื่อมรุ้ง ที่แปรเปลี่ยนไปตามมุมต่างๆ ของไข่มุก แต่ทั้งหมดนี้ สิ่งสำคัญ ที่ทำให้ เรามองเห็น ความงดงามของอัญมณี คือ แสงสว่าง

แสงสว่างที่ตกกระทบ กับวัตถุ ทำให้เรามองเห็นสีสัน อันร้อนแรง ของทับทิม และลาปิส ลาซูลี ทำให้มองเห็นประกายพราว ของเพชรที่ล้อกับแสงไฟ และทำให้เราเห็นสีเลื่อมรุ้ง อันงดงาม ของโอปอล

แสงสว่างที่สะท้อนจากพื้นผิว ของอัญมณีแต่ละชนิด ให้ประกายโดดเด่น ที่แตกต่างกัน และสีสัน ที่ส่องประกายออกมา จากความใสภายใน ก็สามารถสร้างสเน่ห์ ให้อัญมณีหลายต่อหลายชนิด แต่ก็มีอัญมณี บางชนิดที่มีสเน่ห์ดึงดูดใจ มากกว่า เช่น สตาร์ ที่เกิดกับทับทิม ไพลิน หรือไพฑูรย์ ทั้งยังมีควอทซ์บางชนิดที่มีสีสัน ด้านบนเหมือนกับถูกฉาบด้วยโลหะ เช่น อะเวนทูรีน ควอทซ์ และ ซัน สโตน

นอกเหนือจากนี้ เสน่ห์อันซับซ้อนที่ดึงดูดใจ ให้ใครหลายคนหลงใหล ยังเกิดได้ด้วยวิธีการ อันซับซ้อน ของธรรมชาติ เช่น อะเกท และจัสเปอร์ (พลอยสีดำแดง) ที่ฝังตัวเป็นรูปร่างต่างๆ อยู่ตามแหล่ง ของมัน และจะพัฒนาเปลี่ยนแปลง รูปต่าง ตามกาลเวลาที่ผ่านไป จนบางครั้ง เมื่อเราได้เห็น ก็จะรู้สึกว่ามันมีรูปร่าง คล้ายกับแผนที่ หรือสวนสวยๆ

อัญมณีส่วนใหญ่แสดงความงดงาม ออกมาเพียงเล็กน้อย ราวกับหญิงสาวขี้อาย แต่การจะทำให้ มันแสดงสีสันสดใสที่แท้จริง เราจำเป็นต้องนำมาเจียระไน และขัดให้เป็นเงาเสียก่อน ดังเช่นความงดงามของเพชร ที่จะงามได้ก็ต่อเมื่อ นำมาเจียระไนอย่างถูกเหลี่ยม และได้ขนาดกับสัดส่วนที่เหมาะสม

มื่อเราสวมใส่ เครื่องประดับอัญมณี การเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องของเราก็คือ การทำให้แสงสว่าง ตกกระทบกับมุมต่างๆ ของอัญมณี ที่เราสวมใส่ ทำให้มันแปล่ง ประกายเจิดจรัส จำไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้าคุณสวมใส่เครื่องประดับ ที่ทำด้วยเพชร ทับทิม หรือมรกต "สปอทไลท์" จะทำให้อัญมณี ของคุณมีชีวิตชีวา แต่ถ้าเครื่องประดับของคุณเป็นอำพัน หรือ ไข่มุก แสงที่นุ่มนวลจะเหมาะสมกว่า

ความหายาก

ถ้าความงดงาม คือ สิ่งที่สร้างการเริ่มต้น ประชันกันในหมู่อัญมณีแล้ว ความหายาก ก็คือสิ่งที่ช่วยเพิ่มความพิเศษ ให้อัญมณี ยิ่งเป็นที่ปรารถนาของใครๆ ความหายาก คือ ตัวตัดสินค่า (ที่บางครั้งสูงจนแทบไม่น่าเชื่อ) และมีอิทธิพล โดยตรงต่อราคา ของอัญมณีตามตู้โชว์ ในร้ายขายเครื่องประดับ

อัญมณีบางครั้ง อาจหายากด้วยรายละเอียด และเหตุผลต่างๆ อัญมณีทั่วๆ ไปอาจหายาก เพราะแหล่งที่อยู่ หรืออาจหายาก เพราะคุณภาพของตัวอัญมณีเอง ที่แตกต่างออกไป บางคนอาจเคยสงสัย ว่าทำไมอัญมณีไร้สีสัน อย่างเพชรถึงได้แพงนัก แต่คุณทราบไหม ว่าจะต้องสกัดหินถึง 100 ตันกว่าจะได้มาซึ่งเพชรเพียง 5 กรัม ส่วนมรกตเขียวๆ ที่มีรอยร้าวอยู่ในนั้น ที่ราคาแพงก็เนื่องมาจากว่า มันมีแร่ธาตุทางเคมี ที่หายากปะปนอยู่ และแร่ธาตุในมรกต ก็คือ แร่แบเริลเลี่ยม นั่นเอง

ในทางการค้านั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับความหายากแล้ว ราคาของอัญมณี จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสี ตำหนิภายใน และน้ำหนัก และหน่วยวัดน้ำหนัก ของอัญมณี ก็คือ กะรัต (5 กะรัต = 1กรัม) ซึ่งการซื้อขายอัญมณีนั้น ส่วนมากมักจะชั่งน้ำหนักรวมทั้งเม็ด มากกว่าที่จะแบ่งขายเป็นกะรัต และความหนาแน่น ของอัญมณีแต่ละชนิดก็แตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น เยลโล ซัฟไฟร์ กับ ซิทรีน ที่มีน้ำหนักเท่ากัน แต่ เยลโล ซัฟไฟร์ จะดูเม็ดเล็กกว่า เนื่องจากว่า มันมีความหนาแน่นที่มากกว่านั่นเอง แต่ถ้าหากว่าอัญมณีทั้งสองชนิดนี้ มีขนาดที่เท่ากัน แน่นอนว่าซิทริน จะต้องมีน้ำหนักที่เบากว่า ดังนั้น ความหนาแน่น ก็คือตัวที่ใช้วัดน้ำหนัก ของอัญมณี โดยน้ำหนักของอัญมณี จะเท่ากับน้ำหนักของน้ำ เมื่อเราใช้ถ้วยยูเรก้าเป็นเครื่องวัด

นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาแล้ว ค่าของอัญมณียังขึ้นอยู่กับ ความพอใจ ความนิยม และความเชื่อของแต่ละคน ปริมาณที่สมดุล ระหว่างการหามาได้ กับความตัองการในตลาด รวมไปถึงความต้องการอัญมณี
แต่ละชนิด ที่ไม่คงที่ของผู้คนอีกด้วย

ความคงทน

อัญมณีที่มีความทนทาน ตลอดกาลเวลา พราะอัญมณีสามารถป้องกัน การเปลี่ยนแปลงของสารเคมี
มีความทนทาน เพียงพอที่จะรักษาความมันวาว เอาไว้ อีกทั้งยังไม่เปราะหรือแตกหักได้ง่ายๆ

"ความแข็ง" ของอัญมณี เป็นตัวกำหนดความทนทาน ต่อการขีดข่วนเป็นรอย วิธีการที่ง่ายที่สุด ที่เราจะตรวจสอบดูว่า อัญมณีชนิดใด มีความทนทานต่อการขีดข่วน เป็นรอยมากน้อยแค่ไหนก็คือ การใช้ "โมหส์ สเกล" ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นมาใน ค.ศ 1822 โดยนักแร่วิทยา ชาวเยอรมัน ที่ชื่อว่า เฟรดดริช โมหส์ และวิธีการของเขาก็คือ เลือกแร่ธาตุ ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมา 10 ชนิด และตั้งตัวเลข ให้กับแร่แต่ละชนิด โดยเรียงจากความแข็ง โดยหมายเลข 1 ใช้แทนแร่ตัวหนึ่ง ที่มีความแข็งน้อยที่สุด ซึ่งสเกลของโมหส์ จะเรียงลำดับความแข็งของแร่ธาตุจากน้อยไปหามาก ดังนี้

ทาลค์ (1) ยิปซั่ม (2) แคลไซท์ (3) ฟลูออไรท์ (4) อะปาไทท์ (5)

ออโธเคลส(6) ควอทซ์ (7) โทปาซ (8) คอรันคัม (9) เพชร (10)

ฝุ่นผงที่ปลิวอยู่ในอากาศ มีแร่ควอทซ์ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งควอทซ์มีค่าความแข็ง เท่ากับ 7 ในสเกลชองโมหส์ ดังนั้นอัญมณีที่ดี ก็ควรมีค่าความแข็ง ตั้งแต่ 7 ขึ้นไป เพื่อความทนทาน ต่อการขีดข่วน โดยฝุ่นผง ที่เราเจอะเจอในชีวิตประจำวัน

ระยะห่าง ตัวเลขในโมหส์ สเกล นั้นไม่ได้เพิ่มค่าความแข็ง จากแร่ตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง ในค่าที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ค่าความแข็งของคอรันดัม กับเพชร (3000 - 8000) มีระยะห่างมากกว่า ค่าความแข็งของคอรันดัม กับทาลค์ (1000 - 2000) ซึ่งวิธีการตรวจสอบ ที่ว่าการใช้สเกลนี้ จะต้องทดสอบรอยขูดขีดนั้น ด้วยอุปกรณ์ที่ซับซ้อน จึงสามารถให้ผลที่ละเอียดได้ และเพื่อการสวมใส่ นอกจากอัญมณี จะต้องมีความสวยงามคงทนแล้ว ยังจะต้องมี "ความเหนียว" อยู่ด้วย แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่า ความเหนียวไม่ได้ขึ้นอยู่กับความแข็ง ดังเช่น มรกต และเซอร์คอน ถึงแม้ว่ามันจะมีค่าความแข็งมากกว่า ควอทซ์ แต่มันกลับเปราะ และแตกหักได้ง่าย กว่าควอทซ์ เป็นต้น ส่วนอัญมณีที่มีความเหนียวมากที่สุด ได้แก่ หยกทั้งๆ ที่มันมีค่าความแข็งเพียง 7 หรือต่ำกว่า ความเหนียวของอัญมณี เกิดจากเนื้อโมเลกุลของอัญมณี ที่เกาะเกี่ยวโยงใยกัน ทำให้อัญมณีแต่ละชนิด มีความเหนียว ที่แตกต่างกันออกไป




สี

สีสันต่างๆ ของอัญมณี หลากชนิดเกิดขึ้นได้ เพราะมีแสงสีขาว ส่องทะลุผ่านเนื้ออัญมณีแล้ว แร่ธาตุต่างๆ ที่อยู่ในเนื้อของอัญมณี จะดูดกลืนแสงไว้ส่วนหนึ่ง และปล่อยให้แสงผ่านออกมา ส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เรามองเห็นสีของอัญมณี แสงสีขาวที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ ประกอบด้วย แสงสี หลายสีมารวมกัน หรือที่เรียกกันว่า สเปคตรัม แต่เรื่องการดูดกลืนแสงสีของวัตถุนั้น นับว่าเป็น เรื่องที่ซับซ้อน โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้อง และขึ้นอยู่กับสารเคมี ตำหนิรอยร้าว และการเรียงตัว ของผลึก ซึ่งทั้งหมดนี้ มีผลต่อการแสดงสีทั้งสิ้น

อัญมณีส่วนใหญ่ มีสีได้เพราะปริมาณของแร่ธาตุ และแร่ธาตุที่สำคัญ ที่ส่งผลให้อัญมณีมีสี
ได้แก่ โครเมียม เหล็ก แมกกานีส ไททาเนียม และคอปเปอร์

โครเมี่ยม ทำให้ทับทิม มีสีแดงเข้ม และทำให้มรกต กับดีมานทอยด์ การ์เนท มีสีเขียวสุกใส ขณะที่เหล็ก ให้สีแดง น้ำเงิน เขียว และเหลืองในดีมานทอยด์ การ์เนท สปิเนล ไพลิน เพอริโด และคริโซแบเริล ส่วนไพลินสีน้ำเงินกำมะหยี่ ที่มีราคาสูงนั้น สีของมันได้มาจากไททาเนียม กับเหล็ก ส่วนคอปเปอร์ ให้สีฟ้า และเขียว ในเทอร์ควอยซ์ และมาลาไค์ แมงกานิส ก็ให้สีชมพูในโรโดไนท์ และสีส้มในสเปซซาร์ ไทน์ การ์เนท

แม้ว่าแร่ธาตุต่างๆ จะทำให้อัญมณีมีสีสัน ที่แตกต่างกันออกไป แต่แร่ธาตุบางชนิด ในอัญมณี ก็อาจเปลี่ยนสีได้ เมื่อถูกความร้อน ถูกรังสีแกมมา และรังสีเอกซ์

ดังนั้นในวิธีการดูแลรักษาอัญมณี ข้อหนึ่งก็คือ ต้องระวังไม่ให้อัญมณีของคุณ โดนความร้อน หรือรังสีใดๆ นั่นเอง

สำหรับหนุ่มสาวที่ชื่นชอบเครื่องประดับคงปฏิเสธไม่ได้ว่า อัญมณีสีสันสวยงามช่างต้องตาและน่าหลงใหลกว่าสิ่งใด ลองมาทำความรู้จักกับการเลือกสีอัญมณี รู้ลึกกันเสียหน่อยว่าสีสันของอัญมณีมีความหมายหรือสื่อถึงสิ่งใดบ้าง


สีชมพู แทนความห่วงใยแบ่งปัน บ่งบอกว่าผู้ที่สวมใส่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง เป็นสีแห่งปัจเจกบุคคล


สีแดง เป็นตัวแทนของคนโสด มุ่งมั่น มีพลัง เป็นสีแห่งความรัก ความกล้าหาญ ผู้หลงใหลสีแดงมักเป็นคนก้าวร้าว มีไฟแห่งการแข่งขันสูง


สีเหลือง เป็นตัวแทนของความดี ความอบอุ่น แสดงว่าคุณเป็นคนมองหาความก้าวหน้า ฉลาด มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการสูง


สีน้ำเงิน เป็นสีที่แสดงถึงความสงบ คนที่ชื่นชอบสีนี้มักเป็นคนที่มีความยืดหยุ่น ประนีประนอมสูง


สีม่วง สื่อถึงความสง่าวาม ผู้ที่สวมใส่มักกล้าท้าทายกับสิ่งใหม่ และอ่อนไหวง่ายเช่นเดียวกัน


สีขาว เป็นตัวแทนแห่งความบริสุทธิ์ สว่างไสว สะท้อนว่าคนที่เลือกสวมใส่จะเป็นคนเรียบง่าย มีความแปลกแตกต่างจากคนอื่น


สี มีอิทธิพลในการสื่อความหมาย และบุคคลิกของผู้ที่สวมใส่
ดังนั้นแวดวงเครื่องประดับและนักออกแบบจึงผสมผสานสีสันต่างๆ
ออกเป็นงานชิ้นเอกเพื่อบอกเล่าตัวตนของผู้ที่หลงใสสีสันของอัญมณี

ประวัติของอัญมณี

อัญมณีมีความเป็นมายาวนานหลายล้านปีพอๆกับ อายุของผืนแผ่นดินที่มันฝังตัวอยู่ ความรู้ที่รวบรวมได้จากสุสานโบราณทำให้เรารู้ว่ามีการนำเอาอัญมณี มาใช้ทำเป็นอาวุธพอๆกับทำเครื่องประดับ เพชร,พลอย
ที่ขุดพบในหลุมฝังศพอายุประมาณ 20,000 ปี มีตั้งแต่เปลือกหอยทะเลราคาถูกไปจนถึงก้อนมรกตที่ยังไม่เจียระไน ในอดีดผู้คนนำอัญมณีในท้องถิ่นมาใช้เป็นส่วนใหญ่ ประเทศจีนมีการแกะสลักหยกตั้งแต่เมื่อ 4,500 ปีก่อน ช่างชาวอียิปต์และสุเมเรียนใช้ ลาพิส ลาซูลี คาร์เนเลียน และเทอร์คอยส์ และช่างชาวโรมันใช้อะเกตในการแกะสลัก ส่วนทางเอเชียนิยมใช้เพชร,ทับทิมและแซปไฟร์

ตำนานและการแพทย์

ผู้คนเชื่อกันว่าทั้งสีที่ส่องประกายและรูปผลึกที่ สมบูรณ์เป็นความงดงามของอัญมณีที่มาจากสวรรค์ จึงเกิดความหลงเชื่อไปทั่วว่าอัญมณีแต่ละชนิดบันดาล ให้เกิดสิ่งต่างๆได้ ตั้งแต่บำบัดอาการเมาเหล้าไปจนถึงทำให้ทะเลที่ปั่นป่วนเรียบสงบลงได้

อานุภาพบำบัดโรค

อำนาจเร้นลับของอัญมณีที่เล่าขานสืบต่อกันมานั้น เชื่อว่าสามารถ บำบัดโรคได้ การแพทย์แบบจีนและแบบอายุรเวทยังคงนำอัญมณีมาใช้ และการบำบัดโรคด้วยผลึกแร่เป็นศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆใน ประเทศจีนมีการใช้ผงไข่มุกรักษาโรคผิวหนัง และผงลาพิส ลาซูลี ได้นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาเม็ด ในวงการแพทย์จีนมานานแล้ว ในสมัยโบราณบางครั้งก็นำอัญมณีไปวางบนบาดแผลเพื่อบำบัดรักษา

อัญมณีศาสตร์ (Gemology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเพชร – พลอยทั้งที่เป็น สารอินทรีย์ (Organic Material) และสารอนินทรีย์ (Inorganic Material) เนื้อหาของวิชาครอบคลุมถึงการเกิด คุณสมบัติทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ และคุณสมบัติทางแสง รวมทั้งเทคนิคในการเลียนแบบ และ สังเคราะห์อัญมณี แต่สิ่งสำคัญสุดในศาสตร์แขนงนี้คือ การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์อัญมณี การประเมินคุณภาพและตีราคาอัญมณี



อัญมณีคืออะไร (What is Gemstone?)

เมื่อกล่าวถึงคำว่า อัญมณี หรืออาจเรียกว่า แร่รัตนชาติ” เราหมายถึงวัตถุที่ผ่านการเจียระไนหรือทำการตัด ขัดเงา
แกะสลักมาแล้วเท่านั้น โดยแร่ที่รู้จักประมาณ 3,000 ชนิด มีไม่ถึง 100 ชนิดเท่านั้นที่เป็นอัญมณี และ มีเพียงประมาณ 20 ชนิดเท่านั้นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยอาจกล่าวได้ว่า อัญมณี (Gemstone) เป็นวัตถุธรรมชาติสวยงามที่นำมาใช้เป็นเครื่องประดับ มีทั้งที่เป็นสารอนินทรีย์ (Inorganic Material) เช่น ทับทิม (Ruby), มรกต (Emerald) และ สารอินทรีย์ ( Organic Material) เช่น ไข่มุก(Pearl), ปะการัง(Coral) เป็นต้นและการที่จะจัดสสารใดเป็นอัญมณีต้องพิจารณาคุณสมบัติที่สำคัญในด้าน ต่างๆ ทั้ง 5 ด้านดังนี้คือ ความสวยงาม (Beauty), ความคงทน (Durability), ความหายาก (Rarity), ความนิยม (Fashion), การพกพาสะดวก (Portability) โดย

1. ความสวยงาม (Beauty)

ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่อัญมณีทุกเม็ดควรมี โดยความสวยงามของอัญมณีขึ้นกับ สี (Color) ความวาว (Luster) การผ่านแสง (Transparency) ประกาย (Brilliancy) ไฟ (Fire) โดยความสวยงามจะประกอบไปด้วยสิ่งที่กล่าวถึงข้างต้นอย่างน้อย 2 สิ่ง มีอัญมณีบางชนิดที่มีองค์ประกอบของความสวยงามครบหมด เช่น เพชรสี (Colored Diamond) และ โกเมนชนิด Demantoid (Dementoid Garnet) เป็นต้น

2. ความคงทน (Durability)

ซึ่งความคงทนของอัญมณีขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ชนิด คือ ความแข็ง (Hardness) ความเหนียว (Toughness) และความทนทาน (Stability) ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อเรื่องคุณสมบัติทางกายภาพต่อไป

3. ความหายาก (Rarity)

เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อัญมณีมีราคาเนื่องจากปริมาณที่มีน้อยและมีอย่าง จำกัด ทำให้มีคนเพียงไม่กี่คนที่จะได้ครอบครอง ส่งผลให้อัญมณีมีราคาแพงนั่นเอง ตัวอย่างที่พอกล่าวถึงในเรื่องของความหายากเช่น อเมทิสต์ (Amethyst) ในอดีตเคยมีราคาแพงมากๆ แต่หลังจากพบแหล่งใหญ่ในอเมริกาได้ทำให้ราคาของอเมทิสต์ตกลงอย่างมากมายดัง เช่นปัจจุบัน

4. ความนิยม (Fashion)

ความนิยมในแต่ละช่วง จะส่งผลต่อราคาอัญมณีอย่างมากทีเดียว ซึ่งเหมือนกับเรื่องทั่วไปที่ถ้ามีความนิยมมากทำให้ผู้คนสนใจที่จะเป็นเจ้า ของมากขึ้นซึ่งอาจเกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์

5. การพกพาสะดวก (Portability)

เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ถูกเข้ามากำหนดในคุณสมบัติของอัญมณี ซึ่งอัญมณีเป็นสิ่งมีค่าขนาดเล็กที่สามารถนำติดตัวไปง่ายในยามมีเหตุจำเป็น เช่น สงคราม ความผันแปรทางเศรษฐกิจ และสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ทั่วโลกเนื่องจากความที่เป็นที่ต้องการของบุคคลทั่วๆ ไป

การแบ่งกลุ่มอัญมณี

เป็นการแบ่งกลุ่ม ตามสถบัน (Ge mological Institute of America) GIA เป็น

2 กลุ่มได้ดังนี้คือ 1. เพชร 2. พลอย หมายถึง อัญมณีที่ได้มาจากทั้ง สารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ แต่ไม่รวมถึงเพชร เช่น ทับทิม ไพลิน มรกต เป็นต้น

1. สารอนินทรีย์ คืออัญมณีที่ได้จากแร่ และหิน ซึ่งเกิดตามธรรมชาติ แร่เป็นการเกิดตามธรรมชาติจากโลกมีผลึกแน่นอนที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ และคุณสมบัติทางแสงเฉพาะตัว เช่น ทับทิม ไพลิน มรกต โอปอล และหยก เป็นต้น

หินเกิดจากแร่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกันแบบไม่เป็นระเบียบเช่น ลาพิส ลาซูลี ออบซิเดียน เป็นต้น

2. สารอินทรีย์ คืออัญมณีที่ได้จากสิ่งมีชีวิต การเรียงตัวภายในไม่เป็นระเบียบเช่น ปะการัง ไข่มุก อำพัน และงาช้างเป็นต้น



โดยทั่วไปจะแบ่งรัตนชาติออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่กลุ่มรัตนชาติที่มีราคาสูง และกลุ่มราคาต่ำ การแบ่งกลุ่มเช่นนี้ยังมีใช้อยู่ในปัจจุบันแต่ก็ไม่สามารถที่จะจำกัดแบ่งได้ แน่นอน ตามที่นิยมกันเป็นสากล การแบ่งรัตนชาติได้แก่ เพชร และพลอยหรือหินสี เหตุที่ต้องแบ่งเช่นนี้เนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพและทางแสงเพชรแตกต่างกับ พลอยอย่างเห็นได้ชัด

1. เพชร มีส่วนประกอบเป็นธาตุถ่าน หรือคาร์บอนบริสุทธิ์ที่มีความแข็งที่สุดในบรรดา แร่ธาตุที่เกิดตามธรรมชาติ คือมีความแข็งเท่ากับ 10 ตามมาตราฐานโมห์ส สำหรับเพชรเทียมจะหมายถึงเพชรที่คนทำเลียนแบบขึ้นและมีส่วนประกอบทางเคมีที่ ต่างจากเพชรแท้ รวมถึงพลอยสังเคราะห์อื่นๆ เช่น แซฟไฟร์ สปิเนลฯลฯ

คำว่าเพชร Diamond มาจากคำว่า Adamas ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงชัยชนะ และมีความหมายถึง ความรักที่นิรันดร เพชร จึงเป็นสัญลักษณ์ที่เราใช้พิธีหมั้น เป็นการแสดงออกถึงความรักของชายหญิงที่มีต่อกัน คนอินเดียสมัยโบราณ เชื่อว่าเพชรมีพลังอำนาจทำให้ได้รับชัยชนะ และยังใช้เพชรประดับเทวรูปเพื่อสักการะบูชา กษัตริย์ของอินเดีย มีความเชื่อว่าเพชรสามารถป้องกันภยันตรายจากปีศาจ และชัยชนะแห่งสงครามอีกด้วย เพชร ถือเป็นสารที่แข็งที่สุด มีความแข็งเท่ากับ 10 ในโมห์สเกล หรือมีความแข็งมากกว่าทับทิม 140 เท่า

เพชร เกิดจากการตกผลึกภายใต้ความร้อนและความกดดันใต้เปลือกโลกนับเป็นเวลาหลาย ล้านปี ผลึกเพชรที่พบบ่อยเป็นรปทรงปิรามิดสองชิ้นมีฐานติดกันและแยกจากกันไม่ได้ จึงหมายถึงความรักที่เป็นนิรันดร์ เพชร เป็นผลึกบริสุทธิ์ของ คาร์บอน ซึ่งเป็นสสารตามธรรมชาติที่ถือว่าแข็งแกร่งที่สุด เพชรเท่านั้นที่จะขีดข่วนหรือตัดเพชรอีกเม็ดหนึ่งได้ เมื่อเป็นดังนี้ ใครที่มีเครื่องประดับเพชรก็ไม่ควรวางใกล้ชิดกันมากเกินไป เพราะหากเกิดการเสียดสีก็จะเป็นรอยได้ เพชรก่อตัวจากส่วนลึกในผิวโลก เมื่อคาร์บอนตกผลึกภายใต้แรงดันมหาศาลก็เคลื่อนตัวขึ้นมาพร้อมกับการระเบิด ของภูเขาไฟ และเมื่อภูเขาไฟสงบลง ผลึกเพชรจะถูกฝังอย่ในแมกม่าที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งทางธรณีวิทยาเรียกว่า คิมเบอร์ไลท์ Kimberlite เราจะหาเพชรได้จากที่ไหน?เราหาได้จากในน้ำ ตามชายฝั่งทะเล ตามลำธารน้ำ


หรือต้องไปขุดที่เหมืองเพชร แล้วเหมืองเพชรล่ะอยูที่ไหน? แหล่งที่ค้นพบเพชรและเป็นที่รู้จักกันดี คือที่อินเดีย จากนั้นก็พบที่บราซิล ออสเตรเลีย รัสเซีย บอสวานา และที่อัฟริกาใต้ เราจะขุดหาเพชร จะต้องไปหาสายแร่กันก่อน ทำวิจัย ติดต่อสัมปทานที่ดิน อีกทั้งลงทุนนำเครื่องขุด เครื่องร่อน เครื่องมือต่าง ๆ อีกร้อยแปดอย่าง เดอร์เบียส์จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อกิจกรรมข้างต้น มีนักวิชาการหัวกระทิเดินทางไปทั่วเพื่อหาสายแร่ ทำวิจัยว่าถ้าลงทุนเครื่องมือเครื่องจัก คนงาน ไปแล้วจะสามารถขุดเพชรได้ปริมาณเพียงพอคุ้มค่าใช้จ่ายหรือไม่ เมื่อขุดพบแล้วจะเก็บรักษาและขายก้อนเพชรดิบไปให้แก่โรงงานต่อไปได้อย่างไร รวมถึงการควบคุมราคาเพชรดิบไม่ให้เกิดภาวะเฟ้อในตลาด

คุณค่าของเพชร ดูตรงไหน?4 c's ได้แก่

1. Carat Weight น้ำหนักกะรัต เพชร 1 กะรัต เท่ากับ 100 สตางค์ หรือเท่ากับ 0.2 กรัม คุณค่าของเพชรจะเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

2.Clarity ความสะอาดในเนื้อเพชร เราดูเกรดความสะอาดจากกล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่า โดยจะแบ่งเป็นหลายเกรด คือ FL Flawless ปราศจากตำหนิใด ๆ โดยสิ้นเชิง IF Internal Flawless ปราศจากตำหนิภายใน VVS Very Very Slightly Included ตำหนิที่เห็นได้ยากมาก แบ่งเป็น VVS1 และ VVS2 VS Very Slightly Included ตำหนิเล็กน้อย แบ่งเป็น VS1 VS2 SI Slightly Included ตำหนิที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า แบ่งเป็น SI1 SI2 I Included เห็นตำหนิด้วยตาเปล่า และตำหนินั้นมีผลต่อความคงทน โดยแบ่งเป็น I1, I2, I3

3.Color ตามมาตรฐานของ GIA D-H ใส ไม่มีสี I-J เกือบใส ไม่มีสี K-M มีสีเหลืองแทรกน้อยมาก N-R มีสีเหลืองอ่อนมาก S-Z มีสีเหลืองอ่อน ส่วนสี FANCY หมายถึงสีที่ต่ำกว่า Z

4. Cut จากเพชรดิบเหมือนก้อนดินไร้ค่า มาเป็นเพชรที่มีแสงวาวระยิบ จากการเจียระไนที่ดี การเจียระไนจึงมีผลอย่างมากต่อคุณค่าของเพชร เพราะเป็นองค์สำคัญต่อการสะท้อนแสง ความวาว และความเป็นประกาย การเจียระไนมักเจียเป็นรูปกลม เหลี่ยมเกสร ซึ่งจะทำให้การสะท้อน การหักเห และเป็นประกายได้มากที่สุด เหลี่ยมเกสร จะมี 57 เหลี่ยม ในตลาดเมืองไทย แบ่งเกรดการเจียระไนได้กว้าง ๆ เป็น 3 เกรดด้วยกัน คือ อินเดียน เป็นเกรดการเจียระไนที่ร้านค้าทั่วไปมักใช้ เป็นเหลี่ยมเจียคุณภาพต่ำ ถึงปานกลาง ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องความงามมากนัก เป็นการเจียระไนที่เลี้ยงน้ำหนักเพชรมากกว่า เบลเยี่ยม เป็นเกรดการเจียระไนที่ดี สัดส่วนดี การขัดเงาดี ทำให้การหักเหของแสงดี รัสเชียน เป็นเกรดการเจียระไนที่ดีเลิศ เสียน้ำหนักมากกว่าหน้ากระดานจะแคบกว่าแบบเบลเยี่ยม


ทริก ในการซื้อเพชร

1. หากเลือกได้ ให้เลือกเพชรเม็ดที่มีน้ำหนักเผื่อไว้ เช่น ถ้ามีเม็ด น้ำหนัก 0.50 กะรัตกับเม็ด 0.53 กะรัต แนะนำให้ซื้อเม็ดหลัง เพราะหากเกิดการผิดพลาด หน้าเพชรเป็นรอย ถึงขั้นต้องนำมาเจียระไนใหม่น้ำหนักจะได้ไม่ตกต่ำกว่า 0.50 กะรัต

2. สำหรับเพชรขนาด 0.20 กะรัตขึ้นไป หากเลือกได้ พยายามซื้อเพชรที่มีเหลี่ยมดี คือเกรดรัสเชียน หรืออย่างต่ำก็เป็นเบลเยี่ยม ต้องให้แน่ใจว่าเป็นเบลเยี่ยมแท้ ๆ เพราะจะเล่นไฟ ดูสวยกว่าอินเดียนเป็นไหน ๆ

3. สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเพชรขนาด 1 กะรัตขึ้นไป โปรดเรียกขอใบรับประกัน หรือภาษาพ่อค้าเพชร คือขอใบรับประกันคุณภาพ (Certificate) จากห้องแลบที่เชื่อถือได้จากผู้ขาย ห้องแลบที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ ได้แก่ ของ GIA, HRD, IGI ของในประเทศก็ไปขอได้ที่ AIGS

4. ตัวเรือนสำหรับเพชรเม็ดเล็กคงไม่มีต้องมีข้อระวังมากมาย แต่ถ้าเป็นเม็ดใหญ่ เพชรหล่นหายเพราะตัวเรือนไม่ดี ก็คงเสียใจแย่ ฉะนั้น หากเป็นเพชรเม็ดใหญ่ ควรจะใช้ตัวเรือนจับเพชรที่มีความแข็งแรง สำหรับลักษณะการจับเพชรที่แข็งแรงที่สุด เห็นจะเป็นแบบหนามเตย 6 เตย รองลงมาก็ หนาม 4 เตย และตัวเรือนที่เหมาะจะทำแหวนหมั้นเพชรที่มากที่สุด เห็นจะเป็นตัวเรือนแพลตินั่ม (เลือกใช้ได้ หากมีงบประมาณมากพอ) เพราะแพลตินั่ม ถึงแม้ความแข็งจะน้อยกว่าทอง แต่มีความเหนียวมากกว่า รองลงมาน่าจะเป็นตัวเรือนทองคำหรือทองคำขาวที่มีความแข็งมากสักหน่อย สัก 18K น่าจะดี ตัวเรือนทองคำขาวจะช่วยให้เพชรเล่นไฟได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ ต้องดูที่สีผิวผู้สวมใส่ด้วย หากผิวขาวใส่ทองคำขาวจะดูดี แต่หากผิวสีแทน สีน้ำผึ้ง หากเลือกใช้แหวนสีทองจะเหมาะกว่า



วิธีดูเพชรแท้ ซื้อเพชร ระวังของปลอม

เพชร เลอค่าอมตะ กว่าจะเก็บหอมรอมริบเพื่อซื้อของมีค่าสักชิ้น โดยเฉพาะเครื่องเพชร เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเพชรที่เรากำลังจะซื้อเป็นเพชรแท้หรือเป็นพลอยชนิด อื่น ๆ ซื่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับเพชร เราจะมีข้อสังเกตอย่างไร

พลอย ธรรมชาติที่มีลักษณะคล้ายกับเพชร พลอยเหล่านี้มักจะมีริ้วรอยมลทิลแบบธรรมชาติอยู่ในเนื้อพลอย อาจสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือกล้องกำลังขยายทั่วๆไป พลอยธรรมชาติที่มีลักษณะคล้ายกับเพชรมี 2 ชนิด ได้แก่


1. เพทาย(Zircon) เป็นพลอยธรรมชาติที่ใช้เลียนแบบเพชรมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามปกติเพทายมีได้หลายสี รวมทั้งเม็ดที่ใส ไม่มีสี ที่มีประกายคล้ายเพชร ข้อสังเกตุ ขณะที่เม็ดเท่า ๆ กัน เพทายจะมีน้ำหนักมากกว่า (เพราะค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่า) มีตำหนิในเนื้อแตกต่างจากเพชร คือมีเส้นคู่ชัดเจน เพราะเพทายเป็นพลอยหักเหคู่ ในขณะที่เพชรตกผลึกในระบบคิวบิกซึ่งมีการหักเหเดี่ยว วิธีดูเส้นคู่ต้องดูด้วยกล้องขยาย มองลงไปตรงก้นพลอยจะเห็นเป็นเส้นคู่เหมือนภาพเบลอ ๆ

2. ซัฟไฟร์สีใส(White Sapphire) เป็นพลอยธรรมชาติ วิธีแยกจากเพชร คือดูจากการเล่นไฟ ลองขยับพลอยไปมา แสงที่สะท้อนจากเพชรจะเกิดสีรุ้ง คือสะท้อนเป็น 7 สี ในขณะที่ซัฟไฟร์สีใส จะสะท้อนสีรุ้งได้น้อยมาก

พลอยสังเคราะห์

ที่มีลักษณะคล้ายเพชรเป็นพลอยที่มีการผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีลักษณะทางกายภาพคล้ายกับเพชรมากที่สุด มักไม่เห็นตำหนิ หรือถ้ามีก็จะเป็นตำหนิที่เล็กมาก ๆ พลอยกลุ่มนี้มีหลากหลายชนิดได้แก่

1. เพชรรัสเซีย (Synthetic Cubic Zirconia) เป็นพลอยสังเคราะห์ที่นิยมมากที่สุด ในการเลียนแบบเพชรแท้ วิธีแยกพลอยชนิดนี้ออกจากเพชรคือใช้เครื่องจี้เพชรจี้ดู เนื่องจากพลอยชนิดนี้ไม่มีคุณสมบัติในการนำความร้อนเหมือนกับเพชร

2.เพชรโมอีส (Moissanite) เป็นพลอยสังเคราะห์ที่มีลักษณะทางกายภาพและคุณภาพที่คล้ายคลึงกับเพชรมากที่ สุดในขณะนี้ เครื่องจี้เพชรที่อาศัยการนำความร้อนใช้แยกไม่ได้ เพราะเพชรโมอีส ก็มีคุณสมบัตินำความร้อนได้เหมือนกัน ยกเว้นแต่เครื่องจี้พิเศษใช้จี้เพื่อแยกเพชรโมอีสนี้ให้ออกจากเพชรโดยเฉพาะ ข้อสังเกตุเพชรโมอีสจะมีค่าการกระจายแสงสูงกว่าเพชร จึงมีสีรุ้งแตกออกมามากกว่า

3. รูทิลสังเคราะห์ (Synthetic Rutile) มีสีรุ้งมากเนื่องจากการกระจายแสงสูง สีมักจะติดเหลืองเสมอ ในปัจจุบันมักจะไม่นิยมนำมาเลียนแบบเพชร เพราะค่าความแข็งน้อยจึงเกิดรอยขูดขีดได้ง่าย

4.จีจีจี (G.G.G) เป็นพลอยสังเคราะห์ที่มีการกระจายแสงใกล้เคียงกับเพชร แต่ถ้ามีขนาดเท่ากัน เพชรจะมีน้ำหนักเบากว่ามาก เพราะจีจีจีมีความความถ่วงจำเพาะสูงมาก มักไม่พบในปัจจุบัน

5.แย็ก (Y.A.G) เป็นพลอยสังเคราะห์ที่มีการกระจายแสงต่ำกว่าเพชรมาก มักไม่พบในปัจจุบัน ในการแยกแยะเพชรว่าเป็นเพชรหรือเพชรเลียนแบบนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และการดูเป็นประจำ หากท่านไม่แน่ใจ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะดีและแน่นอนกว่า

2. พลอยหรือหินสี มีรายละเอียดแตกต่างกันไป

พลอยในตระกูลแร่คอรันดัม (Corundum)

ทับทิม (Ruby)(ปัทมราช, รัตนราช, พลอยแดง, แดงสยาม, มณี)

ไพลิน (Blue Sapphires)(นิลกาฬ)

บุษราคัม (Yellow Sapphires)(บุษน้ำเพชร/เหลืองอ่อนจาง,
บุษน้ำแตง/เหลืองอมเขียว,บุษน้ำทอง/เหลืองทอง,
บุษน้ำแม่โขง/เหลืองเข้ม, บุษน้ำขมิ้นเน่า/เหลืองอมน้ำตาล,
บุษน้ำจำปา/เหลืองอมส้ม)

เขียวส่อง (Green Sapphiers)

แซปไฟร์สีม่วง (Violet Sapphires)

แซปไฟร์สีส้มอมแดง (Padraradscha)

พลอยสตาร์ (Star Sapphires)



เบริล (Beryl)

มรกต (Emerald)

อะความารีน (Aquamarine)

มอร์แกนไนต์ (Morganite)


คริโซเบริล (Chrysoberyl)

พลอยจ้าวสามสี (Alexandrite Chrysoberyl)

ไพฑูรย์ (Cat's eye Chysoberyl)


หยก (Jade)

เนไฟรต์ (Nephrite)

เจไดต์ (Jadeite)




โทแพซ (Topaz)


ทัวร์มาลีน (Tourmaline)

Rubellite

Indicolite

Siberite

Chrome Tourmaline

Particoloured

โกเมน (Garnet)

Demantoid

Uvarovite

Tsavorite

Almandite

Rhodolite

Pyrope

Spessartite

Hessonite


พลอยตระกูลควอตซ์ (Quartz)

พลอยสีม่วงดอกตะแบก หรือแอเมทิสต์

(Amethyst)

ควอร์ตสีควันไฟ (Smoky Quartz)

ซิทริน (Citrine)

ตาเสือ (Quartz Tiger's Eye)

หยกแดงไต้หวัน (Carnelian)

หยกออสเตรเลีย (Chrysoprase)

หินลาย (Agate)

หินเลือด (Bloodstone)

โอนิกซ์ (Onyx)

แจสเพอร์ (Jasper)


โอปอล (Opal)

แทนซาในต์ (Tanzanite)


เพอริโดต์ (Peridot)


เพทาย (Zircon)


มุกดาหาร (Moonstone)


มาลาไคต์ (Malachite)


เทอร์คอยส์ (Turquoise)พลอยมูลนกการเวก หรือพลอยไข่นกการเวก


ลาพิส ลาซูลี (Lapis Lazuli)


ไข่มุก (Pearl)


ปะการัง (Coral)


อำพัน (Amber)




อัญมณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามคุณลักษณะการเกิด แลราคาได้แก่

1. อัณมณีธรรมชาติ (Nature gemstones)

คือ อัญมณีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

2. อัญมณีปรับปรุงคุณภาพ (treatment/Enhancement Stone)

คือ อัญมณีธรรมชาติ ที่นำมาปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้สวยงามมากขึ้น

3. อัญมณีที่มนุษย์ประดิษฐ์ (Artificial Stone)

คือ อัญมณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จำแนกดังนี้

1. อัญมณีสังเคราะห์ (Synthetic stone)

คือ อัญมณีที่มนุษย์ผลิตขึ้น โดยมีคุณสมบัติทางกายภาพ, ทางเคมี และทางแสง เหมือนกับอัญมณีธรรมชาติ เช่น ทับทิมสังเคราะห์ แซฟไฟร์สังเคราะห์ เพชรสังเคราะห์ มรกตสังเคราะห์ เป็นต้น

2. อัญมณีประดิษฐ์ (Artificial Stone)

คือ อัญมณีที่มนุษย์ ผลิตขึ้นโดยไม่มีคุณลักษณะที่ไม่เหมือนกับอัญมณีในธรรมชาติ เช่น เพชรรัสเซีย, แก้วทรายทอง, แย็ก (Y.A.G) เป็นต้น

3. อัญมณีเลียนแบบ (Imitation Stone)

คือ การเอาอัญมณีสังเคราะห์มาเลียนแบบธรรมชาติ เช่น การนำเอาพลาสติกสีเหลืองมาเลียนแบบอำพัน นำแก้สีเขียวเนื้อขุ่นมาเลียนแบบหยก เป็นต้น

4. อัญมณีที่ขึ้นรูปใหม่ (Reconstructed Stone)

คือ การนำเอาอัญมณีธรรมชาติที่มีคุณภาพต่ำ มาผ่านขบวนการขึ้นรูปใหม่ ทำให้ได้อัญมณีที่มีคุณภาพสวยงามยิ่งขึ้น เช่น มรกตขึ้นรูปใหม่ หรือการนำอัญมณีที่มีขนาดเล็กมาผ่านขบวนการขึ้นรูปให้ใหญ่ขึ้น เช่น อำพัน เป็นต้น

5. อัญมณีประกอบ (Composit Stone)

คือ การนำเอาอัญมณีตั้งแต่ 2 ชิ้นมาประกบติดกัน อางครั้งอาจนำเอาอัญมณีธรรมชาติไว้เป็นส่วนบน และอัญมณีสังเคราะห์ไว้ส่วนล่าง

อัญมณี ความรู้เบื้องต้น วิเคราะห์เพื่ออะไร

โดย รศ.ดร. เสรีวัฒน์ สมินทร์ปัญญา

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์อัญมณี คือเพื่อต้องการทราบว่าอัญมณีที่ถูกวิเคราะห์นั้น เป็นชนิด และประเภทใด ธรรมชาติที่เป็นสาร อนินทรีย์ อินทรีย์ สารสังเคราะห์ หรือเลียนแบบ แม้กระทั่งอัญมณีนั้นผ่านการปรับปรุงคุณภาพมาหรือไม่

อัญมณี (Gem, Gemstone or Gem material) หมายถึง วัตุถุใดๆที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ ตกแต่ง ด้วยเหตุผล ประการใดประการหนึ่งหรือประกอบกันระหว่าง

ความสวยงาม (Beauty) ความทนทาน (Durability) ความหายาก (Rarity) และการยอมรับ (Acceptability) อัญมณี

อาจอยู่ในรูปลักษณะใดๆ เช่น เป็นผลึก เป็นรูปเหลี่ยมที่ผ่านการเจียระไน เป็นลูกปัด เป็นแผ่น เป็นกิ่งก้าน (เช่นปะการัง) เป็นรูปร่างแกะสลักก็ได้ อัญมณีชิ้นที่ยังมิได้ผ่านการเจียระไน เรียกว่า อัญมณีก้อน หรือพลอยก้อน (Rough) อัญมณี ส่วนใหญ่ถูกใช้ในลักษณะของการนำมาประดับเรือนร่างของบุคคล ซึ่งอัญมณีที่ผ่านการเจียระไน แล้วมักถูกนำมาเข้าตัวเรือนในรูปของแหวน เข็มกลัด สร้อยต่างๆ ในวงการค้าอัมณี อัญมณีทั้งหลายยกเว้นเพชร ถูกเรียกรวมกันว่า อัญมณีสี หรือ พลอยสี (Coloure stones) ซึ่งจะหมายรวมถึง อัญมณีที่ใสไม่มีสี ก็ตาม เช่น ควอรตซ์ชนิดเขี้ยวหนุมาน โทแพสใส เป็นต้น สำหรับอัญมณีที่วัตถุประดับ (Ornamental materials) หรือ ตกแต่ง นั้น ไม่มีขอบเขตการแบ่งระหว่างอัญมณีที่ผ่านการเจียระไนแล้วข้างต้นอย่างชัดเจน ดังนั้นก็ยังถือว่าเป็นอัญมณีเช่นเดียวกัน เช่น อัญมณีแกะสลัก แผ่นหินสีที่ตกแต่งผนัง โต๊ะ หรือกล่อง เป็นต้น



อัญมณี แท้ สังเคราะห์ และเลียนแบบ (Real Synthetic and Imitation)

คำว่า “แท้” มักถูกใช้กันเสมอ เช่น “อัญมณีที่กำลังจะซื้อนี้เป็นของแท้ หรือเทียม” ซึ่งผู้ถามมีเจตนาใคร่รู้ว่าอัญมณีนั้นเป็นของธรรมชาติโดยไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพใดๆ ยกเว้นการเจียระไนส่วนคำว่า

อัญมณีสังเคราะห์(Synthetic gem materials) นั้น คืออัญมณีที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งเป็นอัญมณีที่มีส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพเป็นเช่นเดียวกับอัญมณีที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
นั่นคือ ในทางวิทยาศาสตร์ถือว่า เพชรสังเคราะห์ นับว่าเป็นเพชรแท้ แต่คนทั่วไปถือว่าเป็นเพชรเทียม มิใช่เพชรแท้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ กรณีที่ใช้แซปไฟร์ธรรมชาติใสไม่มีสีมาเลียนแบบ เพชรธรรมชาติ คนทั่วไปจะถือว่าแซปไฟร์นั้นมิใช่เพชรแท้ แต่แซปไฟร์ใสไม่มีสีคือของแท้เพราะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ดังนั้นจะเห็นว่าการใช้คำว่า “แท้” จึงอาจทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้ง่าย จึงควรอธิบาย หรือสื่อความหมายให้แก่ ลูกค้า หรือผู้ที่ติดต่อด้วย อย่างระมัดระวัง

สำหรับคำว่า อัญมณีเลียนแบบ (Imitation gems or Simulant gems) นั้น หมายถึงอัญมณีใดๆ ที่เป็นธรรมชาติ หรือ มนุษย์สร้างขึ้น (ได้แก่ อัญมณีสังเคราะห์ หรือมิใช่สังเคราะห์) ที่ถูกนำมาเลียนแบบอัญมณีที่มีค่ามากกว่า เช่น การใช้ มอยซาไนต์สังเคราะห์มาเลียนแบบเพชร ซึ่งกรณีนี้เราสามารถเรียกมอยซาไนต์สังเคราะห์นั้นว่า เพชรเลียนแบบ (Diamond simulant) หรือใช้สปิเนลธรรมชาติสีแดงมาเลียนแบบทับทิม เราสามารถเรียกสปิเนลธรรมชาติสีแดงนั้นว่า ทับทิมเลียนแบบ (Ruby imitation) เป็นต้น

การจำแนกอัญมณี

อัญมณีมักถูกจัดจำแนกอัญมณีออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามการกำเนิดได้ดังนี้

อัญมณีธรรมชาติ

อัญมณีธรรมชาติที่เป็นสารอนินทรีย์ (Natural gem materials of inorganic origin) เช่น ทับทิม แซปไฟร์ เพชร การ์เนต เพริโด โทแพส เบริล มรกต เป็นต้น

อัญมณีธรรมชาติที่เป็นสารอินทรีย์ (Natural gem materials of organic origin) เช่น อำพัน ไข่มุก เจท ปะการัง เป็นต้น

อัญมณีที่มนุษย์สร้างขึ้น

อัญมณีสังเคราะห์ เช่น ทับทิมสังเคราะห์ แซปไฟร์สังเคราะห์ เพชรสังเคราะห์ มรกตสังเคราะห์ เป็นต้น
อัญมณีที่มนุษย์สร้างขึ้น และไม่มีในธรรมชาติ เช่น CZ, GGG, YAG

สำหรับการที่มนุษย์ดัดแปลงหรือปรับปรุงคุณภาพ (Enhancements)

อัญมณีในสอง รายการข้างบนนี้สามารถจำแนกออกไดเป็นดังนี้

การเจียระไน อัญมณีปะ การปรับปรุงคุณภาพ