การแบ่งเกรด คอรันดัม (Corundum)













คุณภาพของพลอยสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งทับทิมกับแซฟไฟร์ ยากที่จะหามาตรฐานแน่นอนได้ว่าอย่างไหนที่ว่าดี อย่างไหนที่ว่าเลิก ราคาจึงอยู่ที่ความพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย ว่าจะทำการตกลงกันอย่างไร การจัดประเภทของทับทิมที่จัดแบ่งแจกแจงตามแบบด้านข้างนี้ เป็นการจัดแบ่งตามเฉดสีซึ่งแต่ละประเภทที่ถูกแบ่ง ไม่ได้เป็นตัวบอก ถึงคุณภาพหรือแหล่งที่มาได้แน่นอนตายตัวแต่อย่างใด แต่อาจเป็นหลักในการแบ่งได้คร่าว ๆ ว่าส่วนใหญ่สีแบบนั้นสามารถพบได้ในบริเวณใดบ้าง และมีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไรเป็นต้น
หมายถึงทับทิมสีแดงที่ออกเฉดม่วงหรือเฉดน้ำตาลรู้กันในนาม “พลอยแดง” มักเป็นทับทิมจากประเทศไทย ดูตามเหลี่ยมมุม FACET จะเป็นสีดำปรากฏอยู่
  • Primary hue with is red with violetish or brownish overtones.
  • Facet corners almost always appear blackish.
  • Usually of Thai origin.
  • Usually of Thai origin.
  • Known in Thai as simply “Ploy Daeng”
หมายถึงทับทิมสีแดงเฉดชมพูหรือม่วง หรือส้ม ที่ปรากฏเฉดสีไม่เกิน 80% สีจะดูดีขึ้นเมื่อมองด้วยแสงจากหลอดไฟ ดูจากรังสีคลื่นสั้นจะมีการเรืองแสงมากกว่า TYPE A และ TYPE B มักเป็นทับทิมจากประเทศไทยที่รู้จักกันในนาม “แดงชมพู”
  • Prominent hue is pink with either violet or orangy overtones.
  • Tonal percentage usually not greater than 80 % light.
  • Fluorseces stronger than type A and Type D in L.W. and S.W. ultraviolet.
  • Usually of thai origin.
  • Also known as “Daeng Chumpoo”
หมายถึงทับทิมที่ออกเฉดส้มที่มักพบตำหนิม่านพลิ้วอยู่ภายใน มีการเรืองแสงในคลื่นสั้นมากกว่า TYPE A และ D แต่น้อยกว่า TYPE B มีประกายน้อยกว่าเนื่องจากตำหนิภายในเป็นที่รู้จักกันในนาม “แดงลายไทย” หรือ “แดงส้ม”
  • Most prominent hue is red with strong orange overtones.
  • Often accompanied by Type A and Type but usually weaker than Type B.
  • Has a subdued luster due to inclusions.
  • Stones from Bo Waen with characteristic orangy overtones usually fits in category.
  • Also know as “Lai Thai” or “Daeng Som.
หมายถึงทับทิมสีแดงเข้มหรือแดงชมพูเข้มที่มีเฉดดำกว่า มักเรียกกันว่า “แดงดำ” ส่วนใหญ่เป็นพลอยที่พบในประเทศไทย
  • Primary hues range from red to pink (Dee tones)
  • Known as “Daeng Dum”
  • Usually of Thai origin
หมายถึงทับทิมสีแดงถึงสีชมพูเข้ม แต่ปราศจากสีออกม่วงหรือน้ำตาลเหมือน TYPE B ส่วนใหญ่มักเป็นทับทิมจากพม่าและศรีลังกา และมักมีการเรืองแสงสูงในคลื่นสั้น
  • Primary hues range from red to pink (Dee tones)
  • Lacks the violetish, brownish overtones of Type B.
  • Usually of Burmese or Sri Lankan origins.
  • Strongest fluorescence of all the different categories.
แซฟไฟร์ หมายถึง แซฟไฟร์ ทุกสี ได้แก่ สีน้ำเงิน (ไพลิน) สีเหลือง (บุษราคัม) สีเขียว (เขียวส่อง) สีส้ม สีม่วง ฯลฯ ซึ่งแบ่งออกทั้งหมด 9 ประเภท
ไพลินสีน้ำเงินเข้มที่ รู้จักกันในนาม “DEEP ROYAL BLUE” หรือ น้ำเงินกำมะหยี่ อาจมาจากศรีลังกา พม่า กัมพูชา หรืออื่น ๆ มีสีน้ำเงินเข้มกว่า TYPE D และจะเห็นสีดำได้ตามเหลี่ยมมุม FACET
  • These stones are recognizable by their “deep royal blue”
  • May come from Sri Lanka, Burma, Pallin or other sources.
  • Bluer than D.
  • Dark blackish color at facet corners
หมายถึง ไพลินสีน้ำเงินออกขาวขุ่น มีลักษณะ “เหลือบ” หรือ “หม่า” อยู่ภายในมักเป็นพลอย จากกาญจนบุรี จะไม่เห็นสีดำตามเหลี่ยมมุม FACET เหมือน TYPE A และสีออกเฉดเขียวนิด ๆ เมื่อมองจากเหลี่ยมด้านข้าง
  • Denotes stones with a blue hue characteristic of Kanchanaburi. Slightly “milkfish.”
  • Absence of blackish hues at facet corners compared to Type A.
  • May often have slightly greenish overtones when viewed form the pavilion sides
ไพลินสีน้ำเงิน ที่มีเฉดสีอ่อนกว่า TYPE A รู้จักกันในนาม “CORNFLOWER BLUE” อาจเป็นพลอยจากพม่า ศรีลังกา หรือแม้แต่พลอยกัมพูชาที่มีเฉดสีอ่อนกว่า
  • key word is “cornflower” but do not be misled by, Lighter than Type A and a different hue.
  • Can be from Burma, Sir Lanka, or even Pailin if in tone.
หมายถึงไพลินสีน้ำเงินเข้มถึงดำ มักมาจากออสเตรเลีย สามารถมองเห็นแถบสีได้ชัดเจน และส่วนใหญ่จะเห็นเส้น LRON LINE ในสเปคโตรสโคป
  • “Linky Blue” sapphires. Usually from Australia.
  • Usually between 70-100% tone.
  • Hexagonal color banding often present.
  • Almost always show iron in the spectroscope
หมายถึงแซฟไฟร์สีอื่นนอกเหนือจากสีน้ำเงิน (ไพลิน) เขียวและเหลือง เรียกกันอีกอย่างว่า “สีแฟนซี” ซึ่งจะไม่มีการแบ่งระดับสี เป็นพลอยที่เล่นกันในหมู่นักสะสม เช่น แซฟไฟร์สีส้ม สีม่วง หรือสีชมพูแกมเหลือง
  • Refers to sapphires other than following hues: blue, green, yellow.
  • Key word is “fancy” and there is no numerical color grade. Fancy colors, although extremely attractive, are usually for collectors.
หมายถึง แซฟไฟร์สีเขียวทุกเฉด (เขียวส่อง)
  • For all sapphires with a predominant green hue.
หมายถึง แซฟไฟร์สีเหลือง (บุษราคัม) ที่ส่วนมากมาจากศรีลังกาจะมีสีเหลืองจัด ไม่มีสีน้ำตาลเจือปน เฉดสีอ่อนถึงเข้มมักปรากฏตำหนิ FINGERPRINT และ FEATHERS มีการเรืองแสงออกสีส้มในคลื่นยาว และเรืองแสงสีส้มอ่อนในคลื่นสั้นของเครื่อง U.V. LAMP และไม่ปรากฏเส้นไอออน ในสเปคโตรสโคป
  • “Sri Lankan” type sapphires. Primary hue lacks brownish overtones.
  • Usually accompanied by fingerprints and feathers.
  • Orangy fluorescence in L.W. and weak orangy fluorescence in S.W.
  • Usually absence of iron lines.


หมายถึง แซฟไฟร์สีเหลือง (บุษราคัม) ของไทยและออสเตรเลีย มักปรากฏสีน้ำตาลตามเหลี่ยมมุม FACET มีสีเหลืองเข้มและลึกมากกว่าของศรีลังกา รอยตำหนิมีน้อยทำให้ดูสะอาดและเหลี่ยมเงาคม มากกว่า อาจพบแถบสีในกรณีที่สีออกเขียวเล็กน้อย และมักปรากฏเส้นไอออนในสเปคโตรสโคป
  • Category for Thai, Australian –type yellow sapphires.
  • Brownish overtones almost always noticeable at the facet corners.
  • The body color is deeper ans darker in appearance to a Sir Lankan store.
  • Less inclusion.
  • Cleaner and sharper luster.
  • May have straight color bandings sometimes greenish.
  • Lron lines present in spectroscope.