เคล็ดลับแห่งความสำเร็จของดาวินชี่











เคล็ดลับแห่งความสำเร็จของดาวินชี่


รายงานโดย :ว.วชิรเมธี


ใครต่อใครที่ไปเยือนฝรั่งเศส ต่างก็ปรารถนาที่จะได้ไปเยือนพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

เพราะที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีศิลปกรรมระดับโลกประดับเป็นเกียรติยศอยู่หลายชิ้น หนึ่งในศิลปกรรมลือชื่อเหล่านั้นก็คือ ภาพโมนาลิซา ของจิตรกรเอกนาม “เลโอนาร์โด ดาวินชี”

ไม่น่าเชื่อว่าท่ามกลางศิลปกรรมกว่า 2 แสนชิ้นที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์อันใหญ่โตโอฬารแห่งนี้ ภาพโมนาลิซาจะสามารถหลุดขึ้นมาเป็น “นางเอก” ระดับหนึ่งไม่มีสองได้อย่างขาดลอย

แต่เมื่อเราได้มีโอกาสศึกษาลึกลงไปถึงเบื้องหลังของภาพกลับค้นพบแรงบันดาลใจในการทำงานและดำเนินชีวิตที่มีเสน่ห์ไม่แพ้ภาพโมนาลิซา นั่นก็คือ ความเป็นไปในชีวิตของตัวดาวินชีเอง

ดาวินชีไม่ใช่ชาวฝรั่งเศส แต่เป็นชาวอิตาลี เขาเกิดเติบโต ทำงาน ที่อิตาลี แต่ตลอดเวลาที่อยู่อิตาลีชีวิตของเขากลับมีแต่ความลุ่มๆ ดอนๆ ยิ่งในช่วงตอนปลายของชีวิตยิ่งลำบากหนัก ถึงขนาดต้องไปทำงานเป็นสถาปนิกบ้าง วิศวกรบ้าง อยู่แนวหน้ากับทหารในสงครามบ้าง แต่ต่อมาเมื่อกษัตริย์ฟรังซัวส์ที่ 1 ของฝรั่งเศสขึ้นเสวยราชย์แล้ว พระองค์ทรงมองเห็นอัจฉริยภาพของดาวินชี จึงเทียบเชิญให้เขาย้ายมาอยู่ฝรั่งเศส พร้อมทั้งมอบตำแหน่งจิตรกรเอกแห่งราชสำนัก สถาปนิกหลวง และพระสหายของกษัตริย์ให้กับเขา

ด้วยการตระหนักถึงคุณค่าแห่งความเป็น “อัจฉริยบุคคล” ของดาวินชีเช่นนี้เอง เมื่อดาวินชีสิ้นชีวิตลง ผลงานระดับ “เพชรน้ำเอก” ของเขา จึงกลายเป็นสมบัติของชาติฝรั่งเศสไปโดยปริยาย

ว่ากันว่า (ซึ่งอาจจะจริงหรือเท็จก็ได้) เมื่อภาพโมนาลิซากลายเป็น “ของชิ้นเอก” ในแวดวงศิลปะระดับโลกขึ้นมาแล้วนั้น รัฐบาลอิตาลีพยายามทวงคืนภาพโมนาลิซาหลายต่อหลายครั้ง แต่รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ยอม ทวงแล้วทวงอีกก็ไม่ได้ ครั้งสุดท้ายเมื่อไม่นานมานี้เอง แต่มาถึงเวลานี้อิตาลีเลิกทวงภาพโมนาลิซาไปแล้ว เพราะได้รับคำตอบที่ตรงและแรงอย่างยิ่งจากทางฝรั่งเศสว่า “ช่วยไม่ได้ ผู้นำของคุณไม่มีวิสัยทัศน์เอง” (แปลไทยเป็นไทยว่า ก็ผู้นำของคุณตาไม่มีแววเองนี่นา ปล่อยให้ศิลปินอัจฉริยะตกระกำลำบากขนาดนั้น ดาวินชีจึงเลือกฝรั่งเศสมากกว่าอิตาลี)
ดาวินชีประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงเกริกไกร จึงไม่ใช่เพียงเพราะผลงานระดับอัจฉริยะของเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะเขารู้จักเลือกที่จะอยู่ในที่ “ที่มีคนเห็นคุณค่า” ของเขาอีกต่างหาก

การ “อยู่ในที่ที่มีคนเห็นคุณค่า” นับว่าเป็นเคล็ดลับแห่งความสำเร็จที่สำคัญมาก พระพุทธองค์ถึงกับตรัสเรื่องนี้ไว้ในมงคลสูตร (พระสูตรที่ว่าด้วยเคล็ดลับแห่งความสุขแลความสำเร็จ 38 ประการ) ว่า “การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นมงคลอันสูงสุด

ในโลกของการทำงาน มีคนทำงานจำนวนมากมายที่เป็นคนเก่ง มีอัจฉริยภาพเฉพาะตัวขั้นเทพ แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ ทำงานหนักแทบล้มประดาตาย แต่เงินเดือนน้อยนิดเดียว ตำแหน่งไม่ขยับ เจ้านายไม่รัก คนแวดล้อมริษยา ยิ่งทำงานคุณภาพชีวิตยิ่งตกต่ำลง นั่นอาจเป็นไปได้ว่า เพราะเขาเหล่านั้นไม่ได้ทำงานอยู่ในที่ที่มีคนเห็นคุณค่าเหมือนกับดาวินชี

การที่เราแต่ละคนจะได้อยู่ในที่ที่มีคนเห็นคุณค่าได้นั้น มีเหตุปัจจัยสองประการ

ประการหนึ่ง เราต้องเป็นฝ่ายเลือกที่จะอยู่ในที่ที่มีคนเห็นคุณค่า

ประการสอง เราเป็นฝ่ายถูกเลือกโดยคนที่เห็นคุณค่า

ประการแรกนั้น เราสามารถเลือกและปฏิบัติได้เลย ถ้าเราค้นพบว่าการอยู่ในที่เดิมรังแต่จะไม่มีอนาคต เหมือนดาวินชีอยู่ในอิตาลีแล้วมีแต่ความลุ่มๆ ดอนๆ

ประการหลังนั้น ต้องแล้วแต่ว่าจะมีคนที่เห็นคุณค่าของเราเมื่อไหร่ ซึ่งถ้ามีก็ดีไป ถ้าไม่มีก็คงต้องก้มหน้ารับชะตากรรมของชีวิตไปตามยถากรรม

ในโคลงโลกนิติ มีกวีนิพนธ์อยู่บทหนึ่ง พูดถึงคุณค่าของคนที่ “ตามีแวว” เอาไว้อย่างเพราะพริ้งดังนี้

“แม้นมีความรู้ดั่ง สัพพัญญู
ผิว์บ่มีคนชู ห่อนขึ้น
หัวแหวนค่าเมืองตรู ตราโลก
ทองบ่รองรับพื้น ห่อนแก้วมีศรี”

เราทุกคนที่เป็นคนทำงาน คงต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่า เราเป็นมนุษย์ทำงานที่มีความสามารถเพียงไร และความสามารถของเรานั้น ได้รับการยกย่องส่งเสริมให้เต็มภาคภูมิอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่

ถ้าเราเก่ง เราเป็นเลิศ แต่เรายังคง “แป๊ก” อยู่กับที่ มองไปทางไหนก็ไม่มีอนาคต หากรู้สึกว่ากำลังเป็นเช่นนั้น ก็ควรจะรีบมองหา “ที่ที่มีคนเห็นคุณค่า” ให้ตัวเองได้แล้ว แต่ถ้ามองหาที่ที่มีคนเห็นคุณค่าไม่เจอ เราก็ต้องสร้าง “ที่เช่นนั้น” ขึ้นมาด้วยตัวของเราเอง




ไฟล์:ดาวินชีฟีเรนเซ.jpg

อิทธิพลของ ดาวินชี่ทำให้เกิดการเขียนหนังสือ
และสร้างภาพยนต์






Behind the Scene :
เรื่องพิศวงของ ลีโอนาโด ดาวินชี่

เรื่องพิศวงของ ลีโอนาโด ดาวินชี่ กับความลับที่ถูกเปิดเผยใน
THE DA VINCI CODE รหัสลับระทึกโลก




ภาพ เดอะวิทรูเวียนแมน

ในภาพยนตร์เรื่อง THE DA VINCI CODE จุดเริ่มต้นของการถอดรหัส เริ่มจาก เมื่อภัณฑรักษ์ “ชาร์ค โซนิแยร์” หัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ “ลูฟท์” พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยมในพิพิธภัณฑ์ โดยก่อนเสียชีวิต โซนิแยร์ ได้ทิ้งปริศนาการตายเป็นศพของเขาที่วางอยู่บนเป็นรูปสัญลักษณ์ “วิทรูเวียนแมน” หรือรูปคนกลางแขนบนดาวห้าแฉก “โรเบิรต์ แลงดอน” (นำแสดงโดย ทอม แฮงคส์) ศาสตราจารย์ด้านศาสน์สัญลักษณ์ แห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาด์ จึงได้รับมอบหมายจากหน่วยราชการลับแห่งฝรั่งเศสนำโดย กัปตัน เบซุว์ ฟาสช์ (ณ็อง เรโน) ในการไขรหัสลับอันน่าสงสัยนี้

ภาพ เดอะวิทรูเวียนแมน ถูกวาดขึ้นเมื่อประมาณช่วงปี ค.ศ 1490 เป็นผลงานชิ้นเอกของศิลปิน ลีโอนาโดดาวินชี่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพร่างที่ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์มากที่สุด นอกจากนี้ในผลงานจริง จะเห็นว่าด้านบน และล่างของภาพมนุษย์ในวงกลม และสี่เหลี่ยมยังเต็มไปด้วยตัวอักษรหลายบรรทัดซึ่ง ลีโอนาโดบันทึกไว้ด้วยตัวอักษรแบบกลับด้าน ถอดความได้ว่า “ภาพนี้วากขึ้นเพื่อเป็นการศึกษาสรีระของร่างกายมนุษย์เพชาย ตามที่ถูกบรรทึกไว้โดยวิทรูเวียส์ นักปราชญ์ชาวโรมันในยุคก่อนคริสตกาล)


ว่ากันว่าลีโอนาโด ต้องการสะท้อนถึงการผสมผสานกันระหว่างมนุษย์ กับธรรมชาติ ต้องการสื่อว่า การทำงานของร่างกายมนุษย์นั้นสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของระบบจักรวาล รูปเหลี่ยมและกลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของยุคปัจจุบัน สี่เหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ของวัตถุ วงกลมคือสิ่งมีชีวิต และจิตวิญญาณ เมื่อรวมกันจึงกลายเป็นการดำรงอยู่ของมนุษย์ในปัจจุบันนั่นเอง สัญลักษณ์นี้จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันอย่างแะร่หลายในปัจจุบัน เพื่อแสดงถึงความเป็นสังคมมนุษย์

สาเหตุที่ท่านภัณฑรักษ์ โซนิแยร์ เลือกทิ้งปริศานาการตาย เป็นภาพนี้ เพื่อให้แลงดอน ได้ไขปริศนาไปยังผลงานต่างๆของลีโอนาโดดาวินชี่ ต่อไปนั่นเอง

ข้อมูลภาพโมนาลิซ่า MONA LISA หรือชื่อดั้งเดิมคือ ลาจิโอกองด์ (La Giaconda)

ลีโอนาโด เขียนภาพ MONA LISA หรือชื่อดั้งเดิมคือ ลาจิโอกองด์ (La Giaconda) นี้ขึ้นในช่วงระหว่างปี 1503 -1506 และกลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เพราะรอยยิ้มลี้ลับที่ผู้คลั่งไคล้สนใจศิลปะทุกคนต้องการค้นหาคำตอบว่า เหตุใดเมื่อมองภาพนี้จากหลายๆมุม ก็จะเห็นอารมณ์ของหญิงสาวในภาพที่แตกต่างกันออกไป และแต่ละคนที่ดูก็จะตีความรอยยิ้มนั้นไม่เหมือนกันด้วย

หญิงสาวในรูปคือใคร ทฤษฎีที่ยอมรับมากที่สุด บ่งบอกว่าเธอมีนามว่า ลิซ่า เป็นภรรยาของ จิโอกอนโด พ่อค้าชาวอิตาเลี่ยนผู้ร่ำรวย ซึ่งว่าจ้างให้ลีโอนาโดวาดภาพเหมือนภรรยา คำว่า Mona ในภาษาอังกฤษคือ คำว่า Madam ดังนั้นชื่อภาพ Mona Lisa จึงหมายความว่า มาดาม ลิซ่า แต่ยังมีนักประวัติศาสตร์ อีกหลายท่านเชื่อว่าภาพนี้อาจเป็นภาพของคนอื่นก็เป็นไปได้..ที่ดังที่สุดเห็นจะเป็นความเชื่อที่ว่า ล๊โอนาโดเองนั่นล่ะที่อยู่ในภาพนี้

ภาพ MONA LISA หรือชื่อดั้งเดิมคือ ลาจิโอกองด์ (La Giaconda) ของจริงมีขนาดเพียง 31 นิ้ว x 21 นิ้ว เขียนบนแผ่นไม้ป๊อบ์ลาร์ ซึ่งเป็นการเขียนภาพสไตล์ สฟูมาโต ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของศิลปินเอกผู้นี้ ในการวาดภาพสร้างบรรยากาศให้ภาพเหมือนมีหมอกอาบอยู่บางๆ และรูปร่างของสิ่งต่างๆ ในภาพดูเหมือนจะถูกกลืนเข้าหากันด้วย

ภาพ MONA LISA ถูกเก็บรักษาอย่างดี ในห้องกระจกนิรภัย ภายในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และนับเป็นสมบัติทางศิลปะที่ประเมินค่าไม่ได้มากที่สุดชิ้นหนึ่งของโลก จึงมักเป็นที่หมายปองของเหล่ามิจฉาชีพ ภาพนี้เคยถูกปองร้ายจากคนวิกลจริตด้วยการนำน้ำกรดไปสาด แต่ถูกจับได้เสียก่อน ถึงกระนั้นภาพนี้ก็เคยถูกโจรกรรมไปแล้วถึง 2 ครั้ง โดยล่าสุดได้หายไปจากโถงจัตุรัสของพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ เมื่อปี 1911 และถูกค้นพบอีกครั้งในก้นกระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ ในห้องพักโรงแรมแห่งหนึ่งในฟลอเรนซ์ ในอีก 2ปีต่อมา




ข้อมูลภาพ The last supper เดอะลาสต์ ซัปเปอร์

เดอะลาสต์ ซัปเปอร์ คือภาพเขียนบนฝาผนังซึ่งถ่ายทอดเหตุการณ์ อาหารค่ำมื้อสุดท้าย ที่พระเยซูได้ร่วมโต๊ะกับสาวกทั้ง 12 คนก่อนที่จะถูกตรึงไม้กางเขน ลีโอนาโด วาดภาพนี้ ในปี 1495 และใช้เวลาถึง 3 ปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์

ข้อสังเกตของภาพนี้คือ สาวกแต่ละคนล้วนมีท่าทางที่ไม่ปกติ บางคนดูประหลาดใจ บางคนตื่นตระหนก บางคนสงสัย จะมีก็แต่ สาวกที่ชื่อ “จูดาส” ที่อยู่ในเงามืดและมีท่าทีสับสน ซึ่งสอดคล้องกับที่พระคัมภีร์กล่าวว่า พระเยซูทรงทำนายว่าสาวกคนหนึ่งของพระองค์จะทรยศพระองค์ และสาวกคนนั้นก็คือ จูดาสนั่นเอง

ก่อนหน้านั้น เคยมีจิตรกรวาดภาพ อาหารค่ำมื้อสุดท้ายเอาไว้มากมาย แต่มักใส่อภินิหารเข้าไปในภาพ ที่พบเห็นกันมากที่สุดคือ การวาดรัศมีที่ศรีษะของทุกคนในภาพ ยกเว้น จูดาส แต่ของลีโอนาโด เน้นที่ความสมจริง และแฝงการสื่อความหมายลงในภาพอย่าแยบยล จึงได้รับการยกย่องเป็นผลงานชิ้นเอกของโลกศิลปะ

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ กล่าวว่า สาวกคนที่นั่งทางขวามือของพระเยซู เป็นผู้หญิง และไม่ใช่สตรีธรรมดาทั่วไป แต่เป็นคนที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า คือ “นางแมรี่ แม็กดาลีน” ผู้เป็นภรรยาของพระเยซูนั่นเอง! จากภาพจะสังเกตได้ว่า พระเยซู กับ แมรี่ นั่งสะโพกชิดกัน และเอนตัวออกห่างกัน ที่สำคัญหากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าในภาพมีภาพของมือ ถือกริช อยู่หนึ่งมือ แต่เมื่อลองนับแขนทั้งหมดจนครบ จะเห็นว่ามือนั้น ไม่ได้เป็นของใครเลย ไม่ได้ติดกับร่างของใครในรูป และไม่มีตัวตน !!! เป็นการให้ความหมายแฝงว่าสาวกของพระเยซูปองร้ายนาง แมรี่ แม็กดาลีนอยู่นั่นเอง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ช็อคความเชื่อของผู้คนทั่วโลกอย่างมาก และกลายเป็นข้อวิพากย์วิจารณ์กันทั่วโลก ซึ่งผู้เขียน และผู้อำนวยการส้รางภาพยนตร์ แดน บราวน์ ไม่ออกมายอมรับ หรือปฏิเสธว่าจริงหรือไม่ โดยเขาทิ้งปริศนาให้คนอ่าน และผู้ชมภาพยนตร์ต้องขบคิดกันเอาเองว่า เรื่องนี้คือเรื่องจริง หรือว่าเป็นเพียงไอเดียในการแต่งเรื่อง ดาวินชี่ โค้ด หากอยากรู้ว่าเพราะเหตุใด ติดตามชมได้ในภาพยนตร์เรื่อง THE DA VINCI CODE



ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอุบัติการณ์ภาพยนตร์แห่งปี

THE DA VINCI CODE

หนัง ละคร ภาพยนตร์ ซีรี่ย์ movie series drama action comedy horror thriller trailer ตัวอย่างหนัง teaser ข่าวหนัง ข่าวละคร นักแสดง ผู้กำกับ เบื้องหลัง hollywood ฮอลลีวู้ด ฮอลลีวูด ฮอลลีวู๊ด วิจารณ์ review รูป  หนังเก่า wallpaper ไทย เทศ เกาหลี ญี่ปุ่น