ชีวิตหน้าจอคอมพิวเตอร์..อันตราย ! เสี่ยงเป็นโรค..





เพื่อนๆ เป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องใช้ชีวิตในการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ใช่รึป่าวคะ? งั้นก็ควรระวังว่าเพื่อนๆ กำลังจะพบกับโรคร้ายอันตรายที่แฝงอยู่กับงานที่ทำของเพื่อนๆ
ซึ่งมันไม่ใช่โรคติดเชื้อ จึงไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่ใช่โรคติดต่อ เราเลยดูโรคพวกนี้เหมือนจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่เราหารู้ไม่เมื่อเกิดขึ้นแล้วการรักษาให้หายนั้นยาก ต้องใช้เวลานาน
นอกจากจะก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองแล้ว ยังทำลายคุณภาพชีวิตด้วย ทำให้ขาดมนุษยสัมพันธ์
ขาดการออกกำลังกาย ขาดโภชนาการที่ดี ล้วนทำร้ายเราทั้งสิ้นจากมัน.....
แล้วเพื่อนๆ ละค่ะเป็นคนหนึ่งที่เริ่มมีอาการเหล่านี้บ้างอะป่าว


"โรคและกลุ่มอาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ อันเนื่องมาจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์"
โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม)
โรคนี้จะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็นมากๆ
อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะแรกคือ เป็นแล้วหายเมื่อได้พัก
ระยะสองคือ มีอาการต่อเนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก
ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อได้พัก

การรักษาคือ ต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองก่อน หรือถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์
และควรเล่าประวัติการทำงาน ให้แพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จึงจะรักษาเจาะจงเฉพาะที่ได้
โรคจากการทำงานซ้ำซาก พบมากในผู้ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน
มักจะมีอาการชาข้อมือ หรือที่เรียกว่า กลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)
เกิดเนื่องจากการใช้งานซ้ำ ๆ ที่บริเวณข้อมือ ทำให้เอ็นรอบ ๆ ข้อมือหนาตัวขึ้นแล้วไป
กดเส้นประสาทที่วิ่งผ่าน ทำให้เกิดอาการชาและเจ็บได้

การรักษาคือ ทำกายภาพโดยใช้ความร้อนทำให้บริเวณที่จับหนาตัวขึ้นนิ่มลง
และยืดมันออก ทำให้อุโมงค์ที่เส้นประสาทลอดผ่านขยายตัวได้ แต่ถ้าผู้ที่เป็นมากๆ
จะมีอาการชาจนกระทั่งกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงไป การผ่าตัดคือ วิธีรักษาที่ดีที่สุด

โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ
หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนานๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย
หากมีอาการมากๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้
การรักษาคือ เราต้องปรับเปลี่ยนลักษณะงาน และพยายามควบคุมอารมณ์ตนเองไว้บ้าง
มิฉะนั้นเราจะเป็นคนที่เสียทั้งงาน และเสียทั้งเพื่อนได้

โรคภูมิแพ้ สาร Triphenyl Phosphate เป็นสารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
ซึ่งเป็นสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอ และคอมพิวเตอร์ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
เช่น คัน คัดจมูก และปวดศีรษะ เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา
โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญ
ที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์นั้นกลายเป็นอุปกรณ์ธรรมดา ที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องมี
พนักงานทุกคนจึงต้องใช้เป็น ความเสี่ยงนั้นจะเริ่มขึ้นเมื่อเราใช้ชีวิตอยู่หน้าจอเป็นประจำเท่านั้น
โดยใช้เวลานานเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน ผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้นที่แน่ๆ ก็คือ ปวดหลัง ปวดไหล่
ต้นคอ และข้อมือ เกิดอาการเครียดที่ตา เป็นผลให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคืองได้
และอาการที่ตามมาคือ ตาพร่า และมองไม่เห็นชั่วคราว นอกจากนี้ยังอาจมีอาการไมเกรนพ่วงมาด้วย


ปัญหาทางตาเป็นปัญหาที่น่าห่วงมาก เพราะเมื่อตาเกิดความเครียด กล้ามเนื้อตาจะบีบรัดเลนส์ตา
จนเกิดความเมื่อยล้า ถ้าต้องใช้สายตาอยู่กับหน้าจอนานๆ ควรพักสายตาทุกๆ 10 นาที
ด้วยการเปลี่ยนไปมองวัตถุที่อยู่ไกลออกไปสัก 20 ฟุต มองสัก 2-3 นาที แล้วค่อยมองจอต่อ
ทั้งหมดคงต้องเป็นหน้าที่ของเพื่อนๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์เองนะค่ะ ที่จะต้องรับผิดชอบสุขภาพของตนเอง
เพราะถ้าเกิดปัญหาทางสายตาขึ้น จะไปเรียกร้องเงินทดแทนก็คงทำได้ยาก

หากเพื่อนๆ ไม่ต้องการที่จะพบเจอโรคที่แฝงอยู่กับการที่ทำนั้น ลองปรับเปลี่ยนนิสัยเดิมๆ
ที่เคยเป็นอยู่ อย่างเช่นการจัดและปรับสภาพโต๊ะทำงานคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์
แต่ละคนควรปรับระดับที่เหมาะสมของตนเอง เพื่อให้ได้ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
เพื่อป้องกันปัญหาตาล้า และความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อของร่างกาย
จึงขอเสนอคำแนะนำในการจัดสัดส่วนงานคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดดังนี้ คือ

- จอภาพคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวประมาณ 20 องศา
- ระยะในการมอง ควรอยู่ระหว่าง 50-70 ซม.
- เก้าอี้ปรับระดับได้ และ/หรือโต๊ะปรับระดับความสูงได้
- นั่งหลังตรง หลังพิงพนักพิง
- จอภาพควรเป็นประเภทตัวหนังสือมืดบนพื้นสว่าง ภายใต้ระดับความส่องสว่างของแสง
ประมาณ 300-500 ลักซ์ หรืออย่าให้มีการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบ
ทำให้เสมือนมีหมอกมาบดบังอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์.


ที่มา: panyathai

นั่งหน้าคอมฯนานๆอาจตายได้!


สำหรับผู้ที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ควรที่จะระมัดระวังโรคที่เกี่ยวกับการนั่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหรือที่เรียกว่า DVT

อาการเลือดจับตัวเป็นก้อนเมื่อนั่งใช้คอมพิวเตอร์นานๆ (DVT)

แพทย์เชื่อว่าอาการเลือดจับตัวเป็นก้อนลิ่มในเส้นเลือดของผู้ป่วยใกล้ตายรายหนึ่ง สาเหตุมาจากการที่ใช้เวลานั่งทำงานอย่างต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยที่ไม่ได้มีการขยับร่างกาย หรือลุกออกไปไหนเลย มันเป็นเรื่องจริงที่ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำให้คุณตายได้ ซึ่ง เราไม่ได้กำลังพูดถึงนักเล่นเกมที่ตายหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากอดอาหาร และน้ำต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน แต่หมายถึงใครก็ตามที่จะได้รับผลกระทบจากการใช้เวลาหลายชั่วโมงอยู่กับโต๊ะ คอมพิวเตอร์

นักวิจัยที่ประเทศนิวซีแลนด์พบว่าการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง อาจทำให้เลือดแข็งตัวเป็นก้อนลิ่ม เป็นอันตรายถึงตายได้ ลักษณะคล้ายๆ กับการเกิดอาการที่เรียกว่า DVT (Deep Vein Thrombosis) ซึ่งเกิดจากการนั่งเครื่องบินในระยะทางไกลๆ โดยเฉพาะชั้นที่นั่งราคาประหยัด บางทีจึงเรียกอาการนี้ว่า “economy-class sysdrome” ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ถูกค้นพบโดยนักวิจัยที่ได้ข้อมูลว่า ชายวัย 32 ปี ผู้หนึ่งที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าเทอร์มินัลคอมพิมเตอร์ประมาณ 18 ชั่วโมงต่อวันซึ่งอาการโคม่า เนื่อง จากเกิดอาการเลือดจับตัวเป็นก้อน โดยก้อนเลือดที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในบริเวณขาบอบเขา ก่อนที่จะแตกกระจายและเดินทางไปยังปอดทั้งสองของเขาอีกทีหนึ่ง อาการที่เรียกว่า DVT นี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีเลือดขันอยู่ในเส้นเลือดดำ ซึ่งมันจะค่อยๆ เปลี่ยนตัวเองไปเป็นก้อนลิ่ม

โดยอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนคือ ขา จะเริ่มบวม ส่วนอาการที่อันตรายจะเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดแตกออก และเดินทางไปยังหัวใจ หรืออวัยวะภายในที่สำคัญๆ ซึ่งผลลัพธ์ของอาการที่เกิดขึ้นจะไม่อาจคาดเดาได้

ข้อแนะนำ

นอกจากการที่ไม่ควรนั่งทำงาน หรือเล่นคอมพิวเตอร์นานเกินไปแล้ว ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่รู้สึกว่านั่งนานเกินไปให้พยายามกระดิกนิ้วเท้า และข้อเท้า ดื่มน้ำ และไม่ควรดื่มอัลกอฮอล์ นอกจากนี้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่นั่งนานควรจะลุกขึ้นและยืดขาอย่างน้อยๆ ชั่วโมงละ 1 ครั้ง การใช้ยาแอสไฟริน ซึ่งช่วยให้เลือดไม่ข้นเกินไปก็สามารถช่วยได้เหมือนกัน การนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ในท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงบ้าง ผู้เชี่ยวชาญบางท่านยังตั้งข้อสังเกตว่าผู้ใช้โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์จะเสี่ยง ต่ออาการผิดปกติที่ว่านี้เป็น 2 เท่า โดยเฉพาะผู้ที่ต้องนั่งทำงานกับโน้ตบุ๊กในชั้นที่นั่งราคาประหยัดบนเครื่อง